Background



แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนพัฒนาท้องถิ่น พศ.2566-2570 แก้ไข ครั้งที่ 3/2566
28 กุมภาพันธ์ 2566

0


เอกสารแนบ
แผนพัฒนาสามปี
30 พฤศจิกายน 542

0


ส่วนที่ ๑

บทนำ

                       

                 

แผนพัฒนาสามปี หมายถึง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงานโครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้า ครอบคลุมระยะเวลาสามปี โดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี

 

๑.๑ ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี

                  แผนพัฒนาสามปี เป็นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ  โดยมีหลักคิดที่ว่าภายใต้แนวทางการพัฒนาหนึ่ง ๆ จะมีแนวทางการพัฒนา ได้มากกว่าหนึ่งแนวทาง และภายใต้แนวทางการพัฒนาหนึ่ง จะมีโครงการ/กิจกรรมได้มากกว่าหนึ่งโครงการ/กิจกรรม ที่จะต้องนำมาดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน และวิสัยทัศน์ในที่สุด

          นอกจากนั้น แผนพัฒนาสามปี เป็นแผนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี    กล่าวคือองค์การบริหารส่วนตำบลใช้การวางแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยนำโครงการ / กิจกรรมจากแผนพัฒนาสามปีในปีที่จะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปจัดทำงบประมาณ เพื่อให้กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบและผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน

 

๑.๒ วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี

  1. เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยง และสอดคล้องกันระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และการจัดทำงบประมาณประจำปี
  2. เพื่อแสดงแนวทางพัฒนาในช่วงสามปีที่มีความสอดคล้องและสามารถสนองตอบต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

3)  เป็นการเตรียมโครงการพัฒนาต่าง ๆ  ให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะบรรจุในเอกสารงบประมาณประจำปี และนำไปปฏิบัติได้ทันทีเมื่อได้รับงบประมาณ

 

๑.๓ ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี

หลังจากที่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์แล้วก็จะต้องถึงขั้นตอนในการแปลงสู่ปฏิบัติโดยการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนการจัดทำเป็น 

7  ขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นตอนการเตรียมการจัดทำแผน
  2. ขั้นตอนการคัดเลือกยุทธศาสตร์ และแนวทางพัฒนา
  3. ขั้นตอนการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
  4. ขั้นตอนการกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา
  5. ขั้นตอนการจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
  6. ขั้นตอนการจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี
  7. ขั้นตอนการอนุมัติและประกาศ

 

 

 

1.4 ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี

                   การจัดทำแผนพัฒนาสามปี เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้พิจารณาอย่างรอบคอบให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการดำเนินงานต่าง ๆ ที่อาจมีความเชื่อมโยง และส่งผลทั้งในเชิงสนับสนุน และเป็นอุปสรรคต่อกัน เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลนำมาตัดสินใจกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และใช้ทรัพยากรการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะสูงสุด           

 

1.5  สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน

        1.ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง  อาณาเขต  เขตการปกครอง  ประชากร  การศึกษา สาธารณสุข ความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ

 

1.1  ที่ตั้ง

                   ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ตั้งอยู่ เลขที่ 1 หมู่ที่ 9 ตำบลท่าหิน  อำเภอสวี  จังหวัดชุมพร ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอสวี มีระยะทางห่าง ประมาณ 9 กิโลเมตร  และตั้งอยู่      ห่างจากจังหวัดชุมพร ไปทางทิศใต้  ระยะทางประมาณ  51 กิโลเมตร

 

1.2  เนื้อที่

ตำบลท่าหินมีเนื้อที่ประมาณ  46.7   ตารางกิโลเมตร  หรือ  29,192  ไร่

 

1.3  ภูมิประเทศ

พื้นที่ทางกายภาพส่วนใหญ่ เป็นที่ราบสลับภูเขา และมีพื้นที่ติดทะเลส่วนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่    หมู่ที่ 8 ตำบลท่าหิน  โดยมีอาณาเขตดังนี้

                   ทิศเหนือ                   ติดต่อ               ตำบลปากแพรก

                   ทิศตะวันออก              ติดต่อ               ตำบลด่านสวี, อ่าวไทย

                   ทิศตะวันตก                ติดต่อ               ตำบลนาโพธิ์

                   ทิศใต้                       ติดต่อ               ตำบลนาโพธิ์, ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก

ภาพที่ 1  ภาพแสดงแผนที่โดยสังเขปของตำบลท่าหิน

 

 

แผนที่ตำบลท่าหิน

 

 

 

 

 

 

         


1.4  จำนวนหมู่บ้าน มี  10 หมู่บ้าน    อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มหมู่บ้าน 10 หมู่บ้านโดยแยกพื้นที่การปกครองออกเป็น  10  หมู่บ้าน  ดังนี้

กำนันตำบลท่าหิน  ชื่อ นายเดชา   ยังสุข

 

หมู่ที่

ชื่อบ้าน

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

ชื่อผู้นำ

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านดอนตาเหลือง

170

161

๓๓1

124

นายอนันต์  หมอฝี

2

บ้านหินสามก้อน

339

323

๖๖2

247

นายโชคชัย   ทองคำ

3

บ้านท่ากระดาน

125

122

247

87

นายณรงค์  ควรหาเวช

4

บ้านคลองชุม

245

219

464

167

นายจริตร์   ชังช่างเรือ

5

บ้านท่าหิน

111

106

217

99

นายเดชา   ยังสุข

6

บ้านห้วยปลิง

181

173

354

138

นายอนันต์  ผุดไซตู

7

บ้านหนองปลา

258

267

525

201

นายอัมพร  บุญเกิด

8

บ้านหาดทรายรี

421

479

900

351

นายสุรินทร์  จันทร์น้อย

9

บ้านเขาเขียว

242

259

501

168

นายเอกสันต์  ภู่ขวัญเมือง

10

บ้านทุ่งพุทธ

192

222

414

146

นายสมชาย   พรมชัย

รวม

2,284

2,331

4,615

1,728

 

         

ประชากรทั้งสิ้น  4,615คน     แยกเป็นชาย ๒,284คน    หญิง ๒,๓๓1 คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย   99  คน / ตารางกิโลเมตร   (ข้อมูล  ณ  เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 สำนักบริหารการทะเบียน  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย)

 

แผนภูมิที่  1   แผนภูมิแสดงจำนวนข้อมูลครัวเรือนตำบลท่าหิน

 


 

แผนภูมิที่  2   แผนภูมิแสดงจำนวนประชากรตำบลท่าหิน

 

 

1.5   อาชีพ

ประชากรในตำบลท่าหินส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม,พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่นมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน และประชากรบางหมู่บ้านประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง

 

พื้นที่เพาะปลูกพืชตำบลท่าหิน

 

 

 

หมู่ที่

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) ปี 2557

ข้าวนาปี

(ในเขต)

ข้าวนาปี

(นอกเขต)

ข้าวนาปรัง

(ในเขต)

สับปะรด

โรงงาน

ปาล์มน้ำมัน

ยางพารา

กาแฟ

มะพร้าว

ทุเรียน

มังคุด

เงาะ

ลองกอง

ส้มเขียวหวาน

1

-

-

-

-

463

-

-

345

-

-

-

-

-

2

-

-

-

-

1,370

463

-

1,000

113

10

2

12

-

3

-

-

-

-

1,048

170

-

750

61

13

1

10

-

4

-

-

-

-

480

349

7

500

16

3

2

14

-

5

-

-

-

-

473

-

-

390

-

12

-

-

-

6

-

-

-

-

700

278

6

700

15

10

2

30

-

7

-

-

-

-

420

645

-

500

53

12

3

20

-

8

-

-

-

-

317

1,680

-

700

38

 

-

22

-

9

-

-

-

-

700

759

2

493

98

15

1

31

-

10

-

-

-

-

300

323

2

300

10

13

-

18

-

รวม

-

-

-

-

6,271

4,667

17

5,678

404

88

11

157

-

 

1.6   หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบ

  -   รีสอร์ท                    2     แห่ง    -  ปั๊มน้ำมัน                 3            ปั๊ม

  -  โรงผลิตใยมะพร้าว        ๑      โรง    - ร้านตัดเย็บผ้า           ๑            ร้าน

                   -   ตลาดนัด                  1     แห่ง    - ลานรับซื้อปาล์มน้ำมัน  ๓            แห่ง

                   -  ร้านเสริมสวย/ตัดผมชาย  ๒     ร้าน    - ร้านขายของ           4๖            ร้าน

                   -  อู่ซ่อมรถ                     ๓      อู่      - ห้องเช่า                   ๖                    แห่ง

                   -  โกดังมะพร้าว            ๑๔     แห่ง    -  โรงขนมจีน             1            แห่ง

                   -  เสารับสัญญาณโทรศัพท์   ๕     แห่ง   

             1.7   กลุ่ม/องค์กรต่างๆ

                   -  กลุ่มออมทรัพย์           10     กลุ่ม    -  กลุ่มแม่บ้าน            1            กลุ่ม

                   -  กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน      10     กลุ่ม    -  กลุ่มปุ๋ยหมัก            1            กลุ่ม

                   -  กลุ่มอาชีพ                  7     กลุ่ม    -  กลุ่มพัฒนาปลูกปาล์มน้ำมัน  1     กลุ่ม 

                   -  กลุ่มวิสาหกิจชุมชน        1     กลุ่ม    -  ชมรม อสม. รพ.สต.ท่าหิน    1      ชมรม

                   -  กลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้าน  1   กลุ่ม    -  สภาเด็กและเยาวชนตำบล    1     กลุ่ม

                   -  ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.ท่าหิน 1 ชมรม   -  กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.   1  กองทุน

                   -  กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี      ๑  กลุ่ม      -  ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน  ๑   ศูนย์

                   -  ชมรม อปพร.อบต.ท่าหิน  ๑  ชมรม       - กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่าหิน  ๑  กองทุน

        1.8   แหล่งท่องเที่ยว

                   - จุดชมวิววัดเขาท่ากระดาน  หมู่ที่ ๓

                   - ป่าชายเลน  หมู่ที่  5

                   -  ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บ้านหัวเขาถ่าน หมู่ที่ ๘               

                   -  จุดชมวิวเขาหัวถ่าน   หมู่ที่ ๘         

                   - ศาลพ่อเฒ่าเพชร  หมู่ที่ 8

                   - แหล่งซากดึกดำบรรพ์ฟอสซิลหอย หัวเขาถ่าน    หมู่ที่ ๘            

                   - แหล่งท่องเที่ยวหาดทรายรีสวี  หมู่ที่ ๘            

1.9 การศึกษา

-  โรงเรียนประถมศึกษา                                                  3          แห่ง

-  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน                                        1          แห่ง

-  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (กศน.ตำบล)                                    1          แห่ง

-  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                                     10         แห่ง

1.10สถาบันและองค์การทางศาสนา

–  วัด   (ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2,๓,5,6,8,๑๐ )                                  ๖        แห่ง   

        1.11  วัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น

      - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

      - ประเพณีวันสงกรานต์

      - ประเพณีวันลอยกระทง

 

1.12  สาธารณสุข

      - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                                        1       แห่ง

1.13  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                   –  ป้อมตำรวจประจำตำบล                                               1       แห่ง

-  สมาชิก อปพร.  2   รุ่น                                                          153    คน

 

                1.14 การคมนาคม

- คมนาคมทางบก โดยมีถนนทั้งหมดในตำบลรวม                       ๗๙       สาย

– ถนนลาดยาง                                                             2       สาย

- ถนน คสล.                                                              12       สาย

- ถนน คสล./ลูกรัง                                                       ๒๗       สาย

- ถนนลูกรัง                                                               32       สาย

                  1.15  แหล่งน้ำธรรมชาติ

                   –  ลำห้วย                                                                  ๖        แห่ง

                   –  แม่น้ำ                                                                   ๒        แห่ง

  • สระน้ำ                                                                  ๕        แห่ง

                   –  หาดทราย                                                               1        แห่ง

1.16  สาธารณูปโภค

                   - ประชากรที่มีไฟฟ้าใช้  ร้อยละ  9๙

                    - ครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้  ๑,๒๔๘  ครัวเรือน  (หมู่ที่ ๑-๑๐)

 

          1.17   รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล

              ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 รวมทั้งสิ้น   ๓๔,๔๑๘,๗๔๖.๓๗     บาท  แยกเป็น

                       -  รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล เก็บเอง     ๑,๕๙๗,๔๖๙.๔๐    บาท

                        -  รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ เก็บให้           ๑๓,๘๖๗,๕๖๔.๙๗    บาท

                         -  เงินอุดหนุนทั่วไป                               ๑๓,๗๙๘,๗๓๔.-        บาท

                         -  เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ                              ๕,๑๕๔,๙๗๘.-      บาท       

                    ±  รายจ่าย    ๓๓,๔๙๓,๙๓๔.๗๑     บาท

แผนภูมิที่  3  แผนภูมิแสดงรายรับของ อบต.ท่าหิน

 

 

2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน ๒๕๕9)

        2.1  ข้อมูลสมาชิกสภา อบต.

 

 

จำนวนสมาชิก

ระดับการศึกษา

ป.๖

ม.๓

ม.ศ.๓

ม.๖

ปวช.

ปวส.

  ป.ตรี

ชาย ๑๗ คน

3

1

3

6

1

1

2

หญิง ๑ คน

-

-

-

-

-

-

1

รวม 18คน

3

1

3

6

1

1

3

 

.๒โครงสร้างคณะผู้บริหาร

 

 

นายกอบต.

รองนายกอบต.

รองนายกอบต.

 

 

 

 

 

 


 

           

 

 

เลขานุการนายกอบต.

 

 

 

 


 

๒.๓ ข้อมูลด้านการศึกษาคณะผู้บริหาร

 

คณะผู้บริหาร

ระดับการศึกษา

นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ป.โท

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ป.ตรี

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ป.ตรี

เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ป.ตรี

 

.๔โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

 

 

ปลัด  อบต.

                                               

 

 

 

 

สำนักปลัด

กองคลัง

กองช่าง

 

 

 

 

 

 

 


 

๒.๕  ข้อมูลพนักงานส่วนตำบล/ลูกจ้างประจำ

 

สำนัก/กอง

จำนวน

ระดับการศึกษา

สำนักปลัด

 

4

- ปริญญาโท     -  คน

- ปริญญาตรี    4  คน

 

กองคลัง

3

- ปริญญาโท   1   คน

- ปริญญาตรี   2   คน

กองช่าง

2

- ปริญญาตรี   2  คน

รวม

9

                    9  คน

 

๒.๖ข้อมูลพนักงานจ้าง

 

สำนัก/กอง

จำนวน

ระดับการศึกษา

สำนักปลัด

 

 

 

6

-  ประถม    2   คน

-  มัธยมศึกษาตอนปลาย  1 คน

- ปวส.   1   คน

-  ปริญญาตรี 2  คน

กองคลัง

 

3

-  ประถม      1  คน

   -  ปวส.         1 คน

-  ปริญญาตรี  1 คน

กองช่าง

 

4

-  ประถม      -    คน

-  มัธยมศึกษาตอนต้น  -   คน

-  ปวส.       3    คน

-  ปริญญาตรี 1    คน

รวม

13

                  13    คน

 

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งโครงสร้างส่วนราชการ ออกเป็น ๑สำนัก   และ  ๒ กอง โดยมีภารกิจการบริหารงาน ดังนี้

 

  1. สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไป

ของ องค์การบริหารส่วนตำบล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล มีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น  ๕  งาน

  1. งานบริหารทั่วไป
  2.  งานนโยบายและแผน
  3. งานกฎหมายและคดี
  4.  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  5. งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน

 

  1. กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การ

เก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกางานเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานจัดทำงบทดลองประจำเดือนประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบลและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น  3  งาน

                                    ๒.๑  งานการเงินและบัญชี

     ๒.๒ งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

                                    ๒.๓  งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

 

  1. กองช่าง  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูล

ทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบการก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติ งานการก่อสร้าง และงานซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงานควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิงและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น   ๓  งาน

3.1  งานก่อสร้าง

3.2  งานออกแบบและควบคุมอาคาร

3.3  งานประสานสาธารณูปโภค

 

จำนวนพนักงานส่วนตำบล ตามแผนอัตรากำลัง (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐)   ข้อมูล ณ  เดือนมิถุนายน  ๒๕๕9

- ปลัด อบต. (นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับกลาง)     จำนวน  ๑อัตรา (ว่าง)

สำนักปลัด

 - หัวหน้าสำนักปลัด (นักบริหารงานทั่วไป ระดับต้น )จำนวน   ๑ อัตรา

 - นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับปฏิบัติการ/ชำนาญการจำนวน   ๑ อัตรา-ว่าง- 

 - นักทรัพยากรบุคคล  ระดับปฏิบัติการ/ชำนาญงาน  จำนวน    ๑  อัตรา –ว่าง -  

-   นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการจำนวน  ๑  อัตรา

-   ครู   อันดับ คศ.๑ จำนวน   ๑  อัตรา

-  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน   จำนวน   ๑ อัตรา   

-   เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับ ปฏิบัติการ/ชำนาญงาน จำนวน  ๑ อัตรา-ว่าง-

กองคลัง

- ผู้อำนวยการกองคลัง  (นักบริหารงานการคลัง ระดับ ต้น)   จำนวน   ๑ อัตรา  

- นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ                           จำนวน   ๑ อัตรา  

- เจ้าพนักงานพัสดุ ระดับ ปฏิบัติงาน/ชำนาญงาน   จำนวน  ๑ อัตรา-ว่าง-

- เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ระดับปฏิบัติงาน/ชำนาญงานจำนวน   ๑ อัตรา -ว่าง-

- เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้   ระดับปฏิบัติงาน/ชำนาญงานจำนวน   ๑ อัตรา  -ว่าง-

- เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี(ลูกจ้างประจำ) จำนวน   ๑ อัตรา  

กองช่าง

- ผู้อำนวยการกองช่าง (นักบริหารงานกองช่าง ระดับต้น) จำนวน   ๑ อัตรา  

- นายช่างโยธา   ระดับปฏิบัติงาน/ชำนาญงานจำนวน   2 อัตรา   -ว่าง-

- เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จำนวน   ๑   อัตรา  

 

จำนวนพนักงานจ้าง อบต. ข้อมูล ณ มิถุนายน   ๒๕๕9

สำนักปลัด

 -  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์นโยบายและแผน  (ภารกิจ)    จำนวน    ๑      อัตรา   - ว่าง -

 -  ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ  (ภารกิจ)                   จำนวน    ๑     อัตรา     

 - ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (ภารกิจ)              จำนวน    ๑     อัตรา

  - ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก(ภารกิจ)                         จำนวน    ๑     อัตรา     

  - พนักงานขับรถยนต์(ภารกิจ,ทักษะ)                จำนวน    ๑     อัตรา

  - แม่บ้าน(ทั่วไป)                                      จำนวน    ๑     อัตรา

  - ยาม(ทั่วไป)                                         จำนวน    ๑     อัตรา

กองคลัง

-  ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พัสดุ (ภารกิจ)                      จำนวน  ๑       อัตรา

-  ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ (ภารกิจ)             จำนวน  ๑       อัตรา

-  คนงานทั่วไป (ทั่วไป)                                จำนวน  ๑       อัตรา

กองช่าง

-  ผู้ช่วยช่างโยธา (ภารกิจ)                             จำนวน  ๑       อัตรา

-  พนักงานผลิตน้ำประปา (ภารกิจ)                   จำนวน  ๑       อัตรา

-  พนักงานเก็บค่าน้ำประปา (ทั่วไป)                  จำนวน  ๑       อัตรา – ว่าง -

-  พนักงานจดมาตรน้ำประปา (ทั่วไป)                จำนวน  ๑       อัตรา

-  คนงานทั่วไป (ทั่วไป)                                 จำนวน  ๑       อัตรา

 

 

ส่วนที่ 2

สรุปผลพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา

2.๑  การสรุปสถานการณ์พัฒนา

การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบัน เป็นการประเมินโดยวิเคราะห์ถึงโอกาส และภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาด้านๆ ของท้องถิ่น รวมทั้งการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของท้องถิ่น อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในของท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดเป็น    การประเมินสถานภาพของท้องถิ่นในปัจจุบันโดยเป็นการตอบคำถามว่า   “ปัจจุบันท้องถิ่นมีสถานภาพการพัฒนาอยู่ จุดไหน” สำหรับใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดการดำเนินงานในอนาคตต่อไป ทั้งนี้โดยใช้เทคนิค SWOT analysis การพิจารณาถึงปัจจัยภายใน ได้แก่ จุดแข็ง (Strength – S) จุดอ่อน (Weakness – W) และปัจจัยภายนอก ได้แก่ โอกาส (Opportunity – O) และอุปสรรค (Threat – T) เป็นเครื่องมือ

ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis

๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

จุดแข็ง  (Strengths : S)

จุดอ่อน(Weakness : W)

๑. ผู้บริหารท้องถิ่น มีนโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องชัดเจน

๒. บุคลากรของ อบต. มีอัตรากำลังและคุณวุฒิที่มีความพร้อมในการปฏิบัติงานตามนโยบายการบริหาร

 

 

 

 

๑. เส้นทางการคมนาคมมีไม่เพียงพอไม่ได้มาตรฐาน เช่น การคมนาคมในหมู่บ้าน/ตำบลยังไม่สะดวก เนื่องจากถนนส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่อ  

๒. ระบบประปาหมู่บ้านยังไม่ทั่วถึง

๓. ครัวเรือนในหมู่บ้านไฟฟ้าใช้ไม่ทั่วถึง

๔. แหล่งน้ำด้านการเกษตรไม่เพียงพอสำหรับใช้ในฤดูแล้ง

๕.งบประมาณของ อบต.ในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละปีมีจำนวนค่อนข้างจำกัด

โอกาส(Opportunity : O)

อุปสรรค( Threat  : T)

๑. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. กำหนดภารกิจให้ อปท. ต้องดำเนินการจัดระบบบริการสาธารณะ โดยที่หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจให้ อปท.

๑. โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ และใช้เทคนิควิธีการทำงานในระดับสูง

 

๒. ด้านสังคม

 

จุดแข็ง  (Strengths : S)

จุดอ่อน(Weakness : W)

๑) มีทุนทางสังคม มีความเป็นพี่น้อง ภูมิปัญญาชาวบ้าน     ผู้รู้ด้านต่างๆ ทางวัฒนธรรมประเพณี เป็นสังคมเอื้ออาทร

๒)  มีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรมด้านต่างๆของประชาชน

๔) ผู้นำให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

๑) ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและสาธารณสุขไม่ถูกต้องชัดเจน ประชาชนขาดความร่วมมือในการให้ข้อมูล

๒) การทำงานที่ขาดการบูรณาการของแต่ละ

หน่วยงาน

๓) การบังคับใช้กฎหมายยังไม่จริงจังเท่าที่ควร

 

โอกาส(Opportunity : O)

๑)  การถ่ายโอนภารกิจตามกฎหมายกระจายอำนาจที่มีแนวโน้มให้ท้องถิ่นมีการพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้น

๒)  รัฐบาลกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงที่ชัดเจน เช่น การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การจัดการแรงงานต่างด้าว การบุกรุกทำลายป่า การพัฒนาด้านการศึกษา  การแก้ไขปัญหายาเสพติด

๓) หน่วยงานองค์กรภาครัฐส่งเสริมศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรมยกย่องคนดีมากขึ้น

 

 

 

 

 

อุปสรรค( Threat  : T)

๑) การแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสาธารณสุข เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ต้องประสานงานกันถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

๒) ความทันสมัยทางเทคโนโลยีและกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นลืมรากฐานทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ และหันไปนิยมวัฒนธรรมการบริโภคมากขึ้น

๓) ปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่มาหางานทำ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

๔) ปัญหายาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น

๕) ประชาชนหมกมุ่นอยู่กับอบายมุขไม่ว่าจะเป็นหวยการพนันเป็นต้น

๖) ปัญหาหนี้นอกระบบ

 

๓. ด้านเศรษฐกิจ

 

จุดแข็ง  (Strengths : S)

จุดอ่อน(Weakness : W)

๑. ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพ

ด้านการเกษตรการประมง

๒. มีสภาพพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยดินน้ำ

และมีภูมิอากาศที่เหมาะสมเอื้ออำนวยแก่การเพาะปลูก

การประกอบอาชีพด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์

 

 

 

๑. ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความร่วมมืออย่างจริงจังในการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมเพื่อต่อรองราคาผลผลิต

๒. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพเกษตรปลอดภัย

๓. การพัฒนาด้านการเกษตรขาดการบูรณาการของภาคเกษตรกร ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการพัฒนาศักยภาพ  การแก้ไขปัญหาไม่เป็นรูปธรรมและขาด

โอกาส(Opportunity : O)

อุปสรรค( Threat  : T)

๑) กระแสนิยมการบริโภคของประชาชนเน้นการดูแลรักสุขภาพ เป็นโอกาสในการพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัย

๒) ทิศทางการพัฒนาประเทศ และนโยบายรัฐบาล กำหนดให้ใช้พื้นที่ชุมชนเป็นตัวหลักในการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๑) การกำหนดราคาสินค้าทางการเกษตร ขึ้นอยู่กับกลไกจากตลาดภายนอก ทำให้ราคาในการจำหน่ายผลผลิตตกต่ำ

๒)  ราคาปุ๋ย ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรที่สูง

๓) นโยบายการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ไม่มีความชัดเจนและไม่เป็นรูปธรรม

๓)การเมืองระดับประเทศขาดเสถียรภาพทำให้นโยบายการบริหารประเทศขาดความต่อเนื่อง

 

๔. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

จุดแข็ง  (Strengths : S)

จุดอ่อน(Weakness : W)

 ๑) มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่นศาลกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์  จุดชมวิวหัวเขาถ่าน, จุดชมวิววัดเขาท่ากระดาน, แหล่งซากดึกดำบรรพ์ฟอสซิลหอย หัวเขาถ่าน, หาดทรายรีสวี, ป่าชายเลน

๒) มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านเกษตรกรรม

๑) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเสื่อมโทรม ขาดงบประมาณ ในการบริหารจัดอย่างเป็นระบบที่ยั่งยืน

๒) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายเป็นจำนวนมาก เพื่อขยายพื้นที่ทำกิน

๓) ประชาชนขาดจิตสำนึกในการดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค่าจากทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างจริงจัง

โอกาส(Opportunity : O)

อุปสรรค( Threat  : T)

๑)นโยบายรัฐบาลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานรัฐ อปท. องค์กรเครือข่ายภาคประชาชน สถาบันการศึกษา 

๒) นโยบายรัฐบาลที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ มีการเร่งรัดมาตรการและกระตุ้นการท่องเที่ยว

๑) การเกิดปัญหาธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น  เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย

 

๕. ด้านการบริหารจัดการและการเมืองการปกครอง

 

จุดแข็ง  (Strengths : S)

จุดอ่อน(Weakness : W)

๑) มีผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นที่มีความสามัคคี มีการจัดเวทีประชุมร่วมกันในแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำต่อการพัฒนาตำบลอย่างต่อเนื่องเป็นประจำเดือนละครั้ง

๒) ผู้บริหารท้องถิ่น มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร และการพัฒนาบุคลากรของท้องถิ่นที่ชัดเจน

๑)  ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

๒) ประชาชนขาดความสนใจในด้านการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในด้านการเมืองการปกครอง และการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ในเฉพาะในกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม

โอกาส(Opportunity : O)

อุปสรรค( Threat  : T)

๑) นโยบายการบริหารของรัฐบาล ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยมีการจัดทำระเบียบ และสร้างช่องทางต่างๆ เป็นเครื่องมือกลไกลควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคประชาชน

๑) การพัฒนาด้านการเมืองการบริหารเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

๒) การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารเป็นงานที่ต้องอาศัยจิตสำนึกเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจส่วนบุคคลจึงเป็นงานที่ค่อนข้างจะคาดเดาได้ยาก

๓) ระบบบริหารจัดการของภาครัฐ มีกฎระเบียบขั้นตอนปฏิบัติที่มาก ทำให้การบริการประชาชนยังขาดความคล่องตัว

 

2.๒  การประเมินผลการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ

การนำโครงการ/กิจกรรม จากแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ไปสู่       การปฏิบัติ โดยมีการนำแผนพัฒนาไปใช้ในการจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาตำบลแต่ละด้าน มีโครงการ/กิจกรรมที่บรรจุไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕9  ซึ่งจะต้องดำเนินการดังนี้

 

ž  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

ลำดับที่

 

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

พื้นที่ดำเนินการ

ก่อสร้างถนนคสล. หมู่ที่ 4  สายเขาดิน - ห้วยลึก

ม.4

ก่อสร้างถนน คสล. หมู่ที่ 5 สายปากนบ -ที่ทำการ อบต.เก่า

ม.5

ก่อสร้างถนนคสล. หมู่ที่ 6  สายดอนกลาง-สระน้ำ

ม.6

4

ก่อสร้างถนนคสล. หมู่ที่ 7  สายควนดินดำ

ม.7

ก่อสร้างถนนคสล. หมู่ที่ 8  สายช่องไทร ๒

ม.8

ก่อสร้างถนน คสล. หมู่ที่ 9 สายหนองปลา-ควนดินแดง-เขาหมอ

ม.9

ก่อสร้างถนน คสล. หมู่ที่ 10 สายทุ่งพุทธ 3

ม.10

ซ่อมแซมถนนลาดยางสายบ้านท่าหิน - บ้านท่ากระดาน

ม.3

ซ่อมแซมถนนลาดยางบ้านท่าหิน - บ้านดอนตาเหลือง

ม.5,1

๑๐

ซ่อมแซมถนนลูกรัง

ม.1-10

๑๑

ติดตั้งปั๊มสูบน้ำดีขึ้นถังจ่ายน้ำประปาบนเขา หมู่ที่ 8

ม.8

๑๒

ขุดเจาะบ่อบาดาล หมู่ที่ 3

ม.3

13

โครงการเพิ่มเติมบ่อบาดาลต่อยอด (SML-บ้านหินสามก้อน) หมู่ที่ 2

ม.2

14

ปรับปรุงซ่อมแซมไฟส่องสว่างสาธารณะ 2 ข้างทาง

ม.1-10

15

ก่อสร้างประปาตำบลขนาดใหญ่

ม.8

 

ž  ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการเมืองการปกครอง

 

ลำดับที่

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

พื้นที่ดำเนินการ

จัดส่งผู้บริหาร สมาชิก อบต. พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง

เข้ารับการฝึกอบรมโครงการต่างๆ

 

อบรมสัมมนาศึกษาดูงานของผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. พนักงาน

ผู้นำชุมชน

 

เวทีประชุมเครือข่ายผู้นำเพื่อการพัฒนาตำบล

ที่ทำการ อบต.

4

จัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในการปฏิบัติงานของ อบต.

ที่ทำการ อบต.

ประชาคมหมู่บ้านจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และแผนพัฒนาท้องถิ่น

ม.๑ -๑๐

ปรับปรุงศูนย์หมู่บ้านหมู่ที่ 2

ม.2

 

ž  ด้านสิ่งแวดล้อม

 

ลำดับที่

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

พื้นที่ดำเนินการ

ปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ

ต.ท่าหิน

ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ

ต.ท่าหิน

กิจกรรมทำความสะอาดบริเวณชายหาด Beach Cleaning Day

ต.ท่าหิน

4

ขุดลอกคูระบายน้ำบ้านดอนตาเหลือง หมู่ที่ 1

หมู่ที่ 1

5

ส่งเสริมการผลิตแตนเบียนเพื่อกำจัดแมลงดำหนามและศัตรูพืช

ต.ท่าหิน

 

 

 

 

ž  ด้านสวัสดิการสังคม การศึกษา กีฬา และวัฒนธรรมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 

ลำดับที่

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

พื้นที่ดำเนินการ

ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ

ต.ท่าหิน

จัดซื้ออาหารเสริม(นม) แก่เด็กเล็ก

ศพด.บ้านท่าหิน

จัดซื้ออาหารกลางวัน แก่เด็กเล็ก

ศพด.บ้านท่าหิน

จัดซื้ออาหารเสริม(นม) แก่เด็กเล็กและเด็กนักเรียน

ร.ร.บ้านหนองปลา

จัดซื้ออาหารเสริม(นม) แก่เด็กเล็กและเด็กนักเรียน

ร.ร.บ้านหาดทรายรี

จัดซื้ออาหารเสริม(นม) แก่เด็กเล็กและเด็กนักเรียน

ร.ร.วัดท่าหิน(ดรุณศึกษา)

อุดหนุน งปม. โครงการอาหารกลางวัน แก่เด็กเล็กและเด็กนักเรียน

ร.ร.บ้านหนองปลา

อุดหนุน งปม. โครงการอาหารกลางวัน แก่เด็กเล็กและเด็กนักเรียน

ร.ร.บ้านหาดทรายรี

อุดหนุน งปม. โครงการอาหารกลางวัน แก่เด็กเล็กและเด็กนักเรียน

ร.ร.วัดท่าหิน(ดรุณศึกษา)

๑๐

อุดหนุน งปม. แก่โรงเรียนจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

ร.ร.บ้านหนองปลา

๑๑

อุดหนุน งปม. แก่โรงเรียนจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

ร.ร.บ้านหาดทรายรี

๑๒

อุดหนุน งปม. แก่โรงเรียนจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

ร.ร.วัดท่าหิน(ดรุณศึกษา)

๑๓

สงเคราะห์เงินทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน

ม.๑ -๑๐

๑๔

จัดงานประเพณีลอยกระทง

ต.ท่าหิน

๑๕

จัดงานวันขึ้นปีใหม่

ต.ท่าหิน

๑๖

จัดงานประเพณีสงกรานต์

ต.ท่าหิน

๑๗

จัดงานวันผู้สูงอายุ

ต.ท่าหิน

๑๘

ร่วมกิจกรรมงานเทอดพระเกียรติกรมหลวงชุมพร งานกาชาด

ต.ท่าหิน

๑๙

จัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดตำบลท่าหิน

ต.ท่าหิน

๒๐

จัดส่งทีมนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด

 

๒๑

จัดส่งทีมนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเรือพาย

 

๒๒

สงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์

ม.๑ -๑๐

23

สมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่าหิน

ต.ท่าหิน

24

โครงการ/กิจกรรมด้านพัฒนาสตรีและครอบครัว/กลุ่มอาชีพต่างๆ

ต.ท่าหิน

 

 

ž  ด้านสาธารณสุข

 

ลำดับที่

ชื่อกิจกรรม/โครงการ

พื้นที่ดำเนินการ

จัดซื้อน้ำยาเคมี/ทรายอะเบส สำหรับใช้ในการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ โรคระบาดในพื้นที่

ม.๑ -๑๐

ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ม.๑ -๑๐

ทำหมันสุนัขและแมว

ม.๑ -๑๐

อุดหนุน งปม.พัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้าน

ม.๑ -๑๐

สมทบงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ท่าหิน

ต.ท่าหิน

 

2.๓ การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพ

ž  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

          -  ดำเนินงานปรับปรุงซ่อมแซม ก่อสร้าง และบุกเบิกถนน สะพาน ท่อลอดเหลี่ยม คสล. ภายในหมู่บ้าน   

          - ประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสวี เพื่อขยายเขตไฟฟ้า

          -  ดำเนินการขยายเขตและปรับปรุงซ่อมแซม ระบบประปาหมู่บ้านและตำบล

 

ž  ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการเมืองการปกครอง

-พัฒนาบุคลากรทั้งพนักงานส่วนตำบล  ผู้บริหาร  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเข้ารับการ      ฝึกอบรมตามโครงการและหลักสูตรของส่วนราชการหน่วยงาน  เพื่อเพิ่มพูนความรู้  คุณธรรมและจริยธรรม

- จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  จัดประชุมประชาคม  หมู่บ้าน/ตำบล

 

- สนับสนุนโครงการอินเตอร์เน็ตตำบล

-  จัดซื้อหนังสือพิมพ์ให้กับหมู่บ้าน

-  จัดเวทีประชุมประจำเดือนผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่น

 

ž  ด้านเศรษฐกิจ

          -  สนับสนุนกลุ่มอาชีพ

          -  พัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

          -  ปรับปรุงภูมิทัศน์

          -  ปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว

 

ž  ด้านสิ่งแวดล้อม

- บำรุงรักษา พื้นที่สาธารณะในตำบล

          - ตัดหญ้าและบำรุงรักษาต้นไม้บริเวณถนนและสระน้ำสาธารณะ

ž  ด้านสวัสดิการสังคม การศึกษา กีฬา และวัฒนธรรม

          -  สนับสนุนอุปกรณ์การศึกษาแก่โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

          -  จัดซื้ออาหารเสริม (นม) ให้กับโรงเรียนในพื้นที่

          -  สนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา

          -  สนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา

          -  จัดกิจกรรมวันสำคัญแห่งชาติ

          -  ให้ทุนสวัสดิการสงเคราะห์คนพิการ

          -  ให้ทุนสวัสดิการสงเคราะห์คนชรา

          -  ให้ทุนสวัสดิการสงเคราะห์ผู้ป่วยเอดส์

          -  จัดงานประเพณีวัฒนธรรม ต่างๆ

ž  ด้านสาธารณสุข

          -   จัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและทำหมันสุนัขและแมว

          -    จัดซื้ออุปกรณ์และสารเคมีกำจัดพาหะนำเชื้อโรคชนิดต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ ๓

การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติ

 

3.1  แนวทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนา

 

วิสัยทัศน์ (Vision) การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน(พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒)

                   ตำบลน่าอยู่   การบริหารจัดการดี

                    เศรษฐกิจมั่นคง   ชมสถานที่ท่องเที่ยว

                      มลภาวะไม่เป็นพิษ   ทุกชีวิตอยู่ดีมีสุข”

พันธกิจการพัฒนา (Mission)

  1. ก่อสร้างและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน

2)  พัฒนาระบบการบริหารจัดการ

3) พัฒนาและส่งเสริมอาชีพประชาชน

4)   ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5)   ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนและประชาชน

เป้าประสงค์

  1. การพัฒนาบำรุงรักษา เส้นทางคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและงานก่อสร้างต่างๆให้ได้มาตรฐาน
  2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  3. ส่งเสริมการบริหารงานขององค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและลดค่าใช้จ่าย
  5. พัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  6. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม และอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรม
  7. การพัฒนาบำรุงรักษาเส้นทางคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานเชื่อมโยง

ระหว่างตำบล

 

 

 

 

 

 

 

 

      ยุทธศาสตร์การพัฒนาอบต.ท่าหิน

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา

๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

๑.๑ การคมนาคมและการขนส่ง

๑.๒ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

๒. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

๒.๑ ด้านการส่งเสริมอาชีพ

๒.๒ ด้านสวัสดิการสังคม

    -  การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ

-  การส่งเสริมและพัฒนาผู้พิการในท้องถิ่น

-  การส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น

๒.๓ ด้านการศึกษา

๒.๔ ด้านการสาธารณสุข การส่งเสริมสุขพลามัยของประชาชน

๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

๓.๑ การส่งเสริมประชาธิปไตย

๓.๒ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

๓.๓ ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย

๓.๔  ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

๓.๕  ด้านการบริหารจัดการ  การเมืองการปกครอง

.ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม  และการท่องเที่ยว

๔.๑ การส่งเสริมการลงทุน

๔.๒การท่องเที่ยว

๕. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

 

๕.๑ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

๕.๒ การคุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

.ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖.๑ การส่งเสริมและการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖.๒ การส่งเสริมและการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น

๗. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

๗.๑ ส่งเสริมด้านการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์และนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล

     ประกอบด้วย

๑)  ยุทธศาสตร์หลัก

๑.๑)  ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม

๑.๒)  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

๑.๓)  ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

๑.๔)  ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

๑.๕)  ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่งคงทางเศรษฐกิจและสังคม

๑.๖)  ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

๑.๗)  ยุทธศาสตร์ในการปรับปรุง  เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ในการใช้บริการอย่างแท้จริง

๑.๘)  ยุทธศาสตร์ในเรื่องการปรับปรุงระบบโทรคมนาคม  เทคโนโลยีของชาติให้เกิดความมั่งคงและยั่งยืน ในอนาคตให้ทัดเทียมอาเซียน และประชาคมโลก

๑.๙)  ยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  คอรัปชั่นอย่างยั่งยืน

๒)  การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ที่สอดคล้องตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ

        การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐  ได้กำหนดประเด็นที่ดำเนินการ  ๑๗  เรื่อง  ประกอบด้วย 

        ๒.๑)  การสร้างความปรองดองและสมานฉันท์

                             ๒.๒) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

๒.๓)การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

๒.๔)การป้องกันปราบปรามและบาบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

๒.๕)การจัดการปัญหาที่ดินทากิน

๒.๖)การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ

๒.๗)การพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ

๒.๘)การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

๒.๙)การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

๒.๑๐)การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ

๒.๑๑)การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

๒.๑๒)การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา

๒.๑๓)การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย

๒.๑๔)การบริหารจัดการทรัพยากรน้า

๒.๑๕)การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

๒.๑๖)การบริหารจัดการขยะและของเสียอันตราย

๒.๑๗) การป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

 

(๓)  ค่านิยมหลักของคนไทยเพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง 

              มีทั้งหมด  ๑๒  ประการ  ดังนี้

๑)  มีความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน

๒)  ซื่อสัตย์  เสียสละ  อดทน  มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

๓)  กตัญญู  ต่อพ่อแม่  ผู้ปกครอง  ครูบาอาจารย์

๔)  ใฝ่หาความรู้  หมั่นศึกษา  เล่าเรียน  ทางตรงและทางอ้อม

๕)  รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

๖)  มีศีลธรรม  รักษาความสัตย์  หวังดีต่อผู้อื่น  เผื่อแผ่และแบ่งปัน

๗)  เข้าใจ  เรียนรู้  การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

๘)  มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

๙)  มีสติ  รู้ตัว  รู้คิด  รู้ทำ  รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๑๐) รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น  มีไว้พอกินพอใช้  ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย  และขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อมโดยภูมิคุ้มกันที่ดี

๑๑) มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำหรือกิเลส มีความละอาย  เกรงกลังต่อบาปตามหลักของศาสนา

๑๒) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม  และต่อชาติ  มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

 

(๔)  นโยบายหรือยุทธศาสตร์ประชารัฐ

      พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ประชารัฐขึ้นเพื่อเป็นแนวนโยบายในการสร้างความสามัคคีรวมพลังของผู้คนในสังคมไทยโดยไม่แยกฝักแยกฝ่ายและไม่กันใครออกไปจากสังคมอีกทั้งยังเป็นสานึกและหน้าที่ที่คนไทยทุกคนจะต้องร่วมมือกันในการปกป้องแผ่นดินแม่จากภยันตรายทั้งปวงและร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงและยั่งยืนประสานพลังการสร้างชาติที่ต้องเติบโตแบบเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนโยบายหรือยุทธศาสตร์ประชารัฐจึงมีแนวคิดในเรื่องของความร่วมมือร่วมใจของรัฐและประชาสังคมเพื่อร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนการพัฒนาชาติทุกมิติที่เกิดขึ้นเพราะว่าประชารัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการพัฒนาประเทศที่มีรูปแบบเครือข่ายโยงใยสัมพันธ์กันเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินยุคปัจจุบันที่เกิดจากการหล่อหลอมรวมพลังของคนไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่าเห็นได้จากเพลงชาติไทยซึ่งมีใจความว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยเป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วนอยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวลด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี...”

 

(๕)  การพัฒนาท้องถิ่นด้านอื่นๆตามอำนาจหน้าที่

๑)  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

๑.๑)  งานด้านการคมนาคมและการขนส่งนำข้อมูลสภาพเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำในพื้นที่มาประกอบการวางแผนรวมถึงถนนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินการลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นให้เป็นปัจจุบันเพื่อมีข้อมูลทางหลวงท้องถิ่นโดยระบุพิกัดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และทราบว่าถนนสายใดอยู่ในสภาพใดและจำเป็นต้องปรับปรุงซ่อมแซมเมื่อใดเพื่อกำหนดไว้เป็นแผนงานโครงการในแผนพัฒนาสามปี

๑.๒)งานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการเพื่อป้องกันน้าท่วมในฤดูน้ำหลากและการขาดน้ำสาหรับอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งให้สำรวจข้อมูลแหล่งน้ำโดยระบุพิกัดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์สภาพและอายุการใช้งานของแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอุปโภคบริโภคเพื่อวางแผนบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมในแผนพัฒนาสามปีตลอดจนสำรวจสภาพความสมบูรณ์ของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสภาพเครื่องสูบน้าสถานีสูบน้ำคลองส่งน้ำหากจำเป็นต้องซ่อมแซมให้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี (การระบุที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์ของโครงการพัฒนาด้านเส้นทางคมนาคมและแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการดำเนินการในพื้นที่ซ้ำซ้อนและเตรียมความพร้อมในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอกตามแนวทางของสานักงบประมาณ)

๑.๓)  งานด้านการผังเมืองและการควบคุมอาคาร  ควรนำผังเมือง /ผังชุมชนมาเป็นข้อมูลประกอบการวางแผน

๒)  ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต

๒.๑)  งานด้านการส่งเสริมอาชีพควรให้ความสำคัญแก่กลุ่มแรงงานนอกระบบให้สามารถมีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายและสำหรับกลุ่มที่ไม่มีงานทำควรส่งเสริมให้เกิดอาชีพรวมทั้งส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการมีงานทำเพื่อให้สามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม  จัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียงโดยเฉพาะด้านการเกษตรและแหล่งน้ำโดยให้ความสำคัญกับข้อมูลของการทานาเช่นจำนวนครัวเรือนจำนวนไร่ ผลผลิตต้นทุนการผลิตเป็นต้น ข้อมูลแหล่งน้ำเช่นแหล่งน้ำเขตชลประทานแหล่งน้ำนอกเขตชลประทานปริมาณน้ำฝนการนำไปใช้เพื่อการเกษตรประเภทการทำนาเป็นต้นโดยอาจจัดทำเป็นยุทธศาสตร์หรือแนวทางการพัฒนาก็ได้ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

๒.๒)งานด้านสวัสดิการสังคม

(๑) การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุให้ได้รับเบี้ยยังชีพในปีต่อๆไปอย่างทั่วถึงโดยมีการจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเพื่อการคาดการณ์จำนวนของผู้สูงอายุที่จะได้รับเบี้ยยังชีพล่วงหน้าและกำหนดไว้ในแผนพัฒนาสามปีนอกจากนี้ควรให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพชีวิตสุขอนามัยและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุเช่นกัน

(๒) การส่งเสริมและพัฒนาผู้พิการในท้องถิ่นควรให้ความสำคัญในการจ่ายเงินเบี้ยความพิการให้คนพิการอย่างครอบคลุมทั่วถึงตลอดถึงการดูแลคุณภาพชีวิตสุขอนามัยและสภาพแวดล้อมของผู้พิการ

(๓) การส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้ความสำคัญกับ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพิจารณาว่าเด็กได้รับอาหารเสริม (นม) ทั่วถึงหรือไม่ได้รับอาหารกลางวันครบทุกคนหรือไม่เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาสามปีนอกจากนี้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นพิจารณานาแผนงานโครงการด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนบรรจุในแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความเหมาะสม

(๔) การส่งเสริมด้านที่พักอาศัยให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจนให้มีที่อยู่อาศัย

๒.๓)งานด้านการศึกษาให้ความสำคัญกับการศึกษาในระบบและนอกระบบโดยการส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและการศึกษาตามอัธยาศัย

๒.๔)การส่งเสริมสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนการรักษาสิทธิ์ที่ประชาชนสมควรได้รับด้วยความเท่าเทียมกันควรให้ความสำคัญในการจัดทาแผนสิทธิมนุษยชนเช่นสิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุขด้านการศึกษาด้านเศรษฐกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านที่อยู่อาศัยด้านวัฒนธรรมและศาสนาด้านข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการขนส่งด้านการเมืองการปกครองด้านกระบวนการยุติธรรมด้านความมั่นคงทางสังคมเป็นต้นโดยให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่มท๐๘๑๐.๒/ว๘๖๗ลงวันที่๒๙เมษายน๒๕๕๘

๒.๕)  งานด้านการสาธารณสุขการส่งเสริมสุขภาพพลานามัยของประชาชนการป้องกันและระงับการระบาดของโรคติดต่อและการเข้าถึงการรักษาของผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและประชาชนทั่วไป

๒.๖)  ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

(๑) งานด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยภาคพลเมืองการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาชุมชนตลอดจนการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชนความเสมอภาคสิทธิเสรีภาพ

(๒) งานด้านการรักษาความยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรมเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ลดและยุติปัญหาข้อขัดแย้งสร้างความมั่นคงเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่นโดยการเสริมสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งของประชาชนและสังคมปลูกฝังค่านิยมและจิตสานึกความรักสามัคคีของคนในชาติรวมถึงการประนอมข้อพิพาทและการช่วยเหลือทางด้านข้อกฎหมายให้ประชาชนในท้องถิ่น

๓)งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

๓.๑) ข้อมูลการเกิดสาธารณภัยในท้องถิ่น  ให้นำข้อมูลการเกิดสาธารณภัยในท้องถิ่นเช่นอุทกภัยวาตภัยอัคคีภัยดินถล่มอาคารถล่มภัยจากภัยแล้งภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายภัยจากไฟป่าภัยจากอากาศหนาวภัยจากการคมนาคมและขนส่งเป็นต้นมาวิเคราะห์หาแนวทางป้องกันหรือลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจากสาธารณภัยดังกล่าวควรหามาตรการเชิงป้องกันและกำหนดเป็นแผนงานไว้ในแผนพัฒนาสามปีเช่น

(๑)  การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการจัดการสาธารณภัยของผู้บริหารและข้าราชการท้องถิ่นและเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย

(๒)  การซักซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำหนดชั้นการบังคับบัญชาการตัดสินใจและขั้นตอนในการปฏิบัติเมื่อเกิดภัยสาธารณและ

(๓)  การจัดหาสถานที่และอุปกรณ์การช่วยเหลือเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่

๓.๒)  การเตรียมความพร้อมเพื่อจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันเนื่องจากปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์ปัญหาหมอกควันข้ามแดนประเทศเพื่อนบ้านส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่และการคมนาคมทางอากาศดังนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันจึงให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด่วนที่สุดที่มท ๐๘๙๑.๔/ว ๒๓๖๐ลงวันที่๒พฤศจิกายน  ๒๕๕๘

๓.๓) การเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาและการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งจึงให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด่วนที่สุดที่มท ๐๘๙๑.๒/ว๒๕๕๕ลงวันที่๒๔พฤศจิกายน  ๒๕๕๘

๓.๔)  งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยให้สำรวจจุดที่มักเกิดเหตุร้ายภัยอันตรายจากกลุ่มมิจฉาชีพและหามาตรการป้องกันเพื่อลดจานวนการเกิดเหตุร้ายขึ้นสาหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดให้สำรวจสภาพความสมบูรณ์ของการใช้งานหากจำเป็นต้องซ่อมแซมขอให้เร่งดาเนินการบรรจุในแผนพัฒนาสามปี

๔) ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว

๔.๑) งานด้านการส่งเสริมการลงทุนควรส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นแก่คนในชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนและมุ่งเน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๔.๒)งานด้านการส่งเสริมการเกษตรการให้การสนับสนุนศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศก.บต.) และควรพิจารณาหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่อาทิการให้ความรู้ทางวิชาการการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรการจำหน่ายผลผลิตการช่วยเหลือหาพันธุ์พืชการบำรุงรักษาดินจัดหาปุ๋ยเคมีภัณฑ์ยาปราบศัตรูพืชในราคาต่ำและการแปรรูปเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่

๔.๓) งานด้านการพาณิชยกรรมกรณีเทศบาลให้สำรวจจุดหาบเร่แผงลอยว่าสามารถขยายจุดผ่อนปรนเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่หรืออาจสำรวจหาสถานที่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และเหมาะสมกับการค้าขายและเตรียมมาตรการรองรับในแผนพัฒนาสามปีเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่กลุ่มผู้ค้าขาย

๔.๔) งานด้านการท่องเที่ยวควรส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตอันดีงามของประชาชนในท้องถิ่นอาจกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวหรือแนวทางการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวตามสภาพภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทางสังคมและวิถีชีวิตชุมชนเช่นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศการท่องเที่ยวที่เป็นธรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการท่องเที่ยวโดยการอาสาสมัคร

๕)  ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาป่าและน้ำการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตเกิดความสมดุลในการพัฒนาและเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศควรเป็นการร่วมมือกันดาเนินการระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืน

๖)  ด้านศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖.๑)  งานด้านส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการสำรวจข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหมดสร้างเป็นองค์ความรู้เผยแพร่ให้แก่คนในท้องถิ่นโดยอาจสนับสนุนให้มีการต่อยอดขยายความคิดแปลงเป็นจุดเด่นให้แก่ผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น

๖.๒)  การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีรักษาอัตตะลักษณ์ของท้องถิ่น

๖.๓)  การอนุรักษ์ทานุบำรุงรักษาโบราณสถานโบราณวัตถุในพื้นที่

 

 

 

 

 

 

แนวคิดในการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์

เนื่องด้วยในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น  จะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์พัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แต่ทั้งนี้  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙)  ได้สิ้นสุดลงและการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  ๑๒  อยู่ระหว่างการดำเนินการและยังไม่ประกาศใช้ แต่ได้กำหนดทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒เอาไว้แล้ว 

 

ดังนั้น  เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒) ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน   มีความสอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒   องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน จึงได้นำทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดังกล่าวมาประกอบในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล  ซึ่งทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒มีรายละเอียดดังนี้

 

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

    1.๑ กรอบแนวคิดและหลักการ

ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ประเทศไทยจะยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศอาทิกระแสการเปิดเศรษฐกิจเสรีความท้าทายของเทคโนโลยีใหม่ๆการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงประกอบกับสภาวการณ์ด้านต่างๆทั้งเศรษฐกิจสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันที่ยังคงประสบปัญหาในหลายด้านเช่นปัญหาผลิตภาพการผลิตความสามารถในการแข่งขันคุณภาพการศึกษาความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นต้นทำให้การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่๑๒จึงจำเป็นต้องยึดกรอบแนวคิดและหลักการในการวางแผนที่สำคัญดังนี้

(๑) การน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

(๒) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม

(๓) การสนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดการปฏิรูปประเทศและ

(๔) การพัฒนาสู่ความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 

1.2  กรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมาย

กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๒

จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ประเทศกำลังประสบอยู่ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๒ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๑และกรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมน้าและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมการพัฒนาที่ยึดหลักสมดุลยั่งยืนโดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๒ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงมีความมั่นคงและยั่งยืนสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน” ของประเทศ

      1.3 การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategic Positioning) เป็น     การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่ สศช. ได้จัดทำขึ้น

ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและ         โลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ  (Trading and Service Nation) เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยแหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

     1.4 เป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

๑.การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง

(๑) เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕.๐

(๒) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP Per Capita) และรายได้ประชาชาติต่อหัว (GNP Per Capita) ณสิ้นแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๒ในปี ๒๕๔๖เพิ่มขึ้นเป็น ๓๑๗,๐๕๑บาท (๙,๓๒๕ดอลลาร์สรอ.) และ ๓๐๑,๑๙๙บาท (๘,๘๕๙ดอลลาร์ สรอ.) ต่อคนต่อปี

(๓) ผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ ๒.๕ต่อปี

(๔) การลงทุนรวมขยายตัวไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ ๘.๐ (การขยายตัวของการลงทุนภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐.๐และการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวไม่ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ ๗.๕ในขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔.๐ต่อปี)

     2. การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ

(๑) ประชาชนทุกช่วงวัยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (Socio-Economic Security) และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

(๒) การศึกษาและการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาคุณภาพ

(๓) สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งเป็นฐานรากที่เอื้อต่อการพัฒนาคน

      ๓. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

(๑) การกระจายรายได้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

(๒) บริการทางสังคมมีคุณภาพและมีการกระจายอย่างทั่วถึง

     ๔. การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(๑) รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม

(๒) ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

(๓) เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

(๔) เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๕) มีการบริหารจัดการน้ำให้สมดุลระหว่างการอุปสงค์และอุปทานของน้ำ

 

5. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

(๑) การบริหารงานภาครัฐที่โปร่งใสเป็นธรรมมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วม

(๒) ขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น

(๓) มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม

 

แผนพัฒนาจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2558 – 2561ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี พ.ศ. 2560)

วิสัยทัศน์ (VISION)

“ชุมพรน่าอยู่ ประตูทองสองฝั่งทะเล เกษตรกรรมยั่งยืน การท่องเที่ยวคุณภาพ

พันธกิจ

1.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันบนพื้นฐานการ

ผลิตเชิงคุณภาพและเกษตรปลอดภัย

2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยวพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ

สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการท่องเที่ยว

3. เสริมสร้างศักยภาพคนครอบครัวชุมชนและสังคมที่มีคุณภาพ

4. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยกระบวนการ

มีส่วนร่วม

5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการจังหวัดดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงเพื่อ

ประโยชน์สุขของประชาชน

เป้าประสงค์รวม

1. สินค้าเกษตรมีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐานและมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

2. การบริหารจัดการท่องเที่ยวมีคุณภาพและมีศักยภาพในการแข่งขัน

3. ประชาชนมีคุณภาพครอบครัวชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็งและดำเนินชีวิตตามหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นไปอย่างมีความ

พร้อมและเท่าทัน

5. ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริหารราชการจังหวัด

ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

1. พัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

(1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร

(2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว

(3) พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตการเกษตร

(4) พัฒนาการท่องเที่ยวให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

2. การพัฒนาคนครอบครัวชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพ

(1) พัฒนาศักยภาพและคุณภาพคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

(2) ส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพและการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

(3) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพสถาบันครอบครัวชุมชนผู้สูงอายุและคนพิการ

(4) ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(1) พัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่

แวดล้อมและภัยพิบัติ

(2) สงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล

(3) พัฒนาเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก

4. การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการเชิงบูรณาการและความมั่นคง

(1) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับการพัฒนาจังหวัดเชิงคุณภาพ

(2) พัฒนาระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

(3) ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดน

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพร (พ.ศ.2560 – 2562)

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

1.1 แนวทางการคมนาคมและการขนส่ง ลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นถนนที่ อปท.ควรดำเนินการ โดยระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ เพื่อจะได้ทราบว่า ถนนอยู่ที่ ใด มีสภาพอย่างไร และต้องปรับปรุงเมื่อใด

1.2 แนวทางการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย และภัยแล้ง โดยระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ เพื่อวางแผนบำรุงรักษาและซ่อมแซมแหล่งน้ำการเกษตร อีกทั้งป้องกันการดำเนินการในพื้นที่ซ้ำซ้อน

1.3 แนวทางการผังเมืองและการควบคุมอาคาร

2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณภาพชีวิต

2.1 แนวทางการส่งเสริมอาชีพ เน้นกลุ่มแรงงานนอกระบบ และกลุ่มที่ไม่มีงานทำ

2.2 แนวทางสวัสดิการสังคม

-การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพ สุขอนามัย และสภาพแวดล้อม

-การส่งเสริมและพัฒนาผู้พิการ สุขอนามัยและสภาพแวดล้อม

-การส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน อาหารเสริม (นม)และอาหารกลางวัน

-การส่งเสริมด้านที่พักอาศัยให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ให้มีที่อยู่อาศัย

-งานสิทธิมนุษยชน การรักษาสิทธิ์ที่ประชาชนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน

2.3 แนวทางการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและศึกษาตามอัธยาศัย

2.4 แนวทางการสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพพลานามัยของประชาชน

3. ยุทธศาสตร์การจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

3.1 แนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตย พัฒนาประชาธิปไตยภาคพลเมือง จัดทำระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาชุมชน ตลอดจนสร้างเครือข่าย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพ

3.2 แนวทางการรักษาความยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรมประนอมข้อพิพาทและช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย

3.3 แนวทางการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อลดความสูญเสียจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น

-ส่งเสริมความรู้ในการจัดการสาธารณภัย

-ซักซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

-จัดหาสถานที่ และอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดสาธารภัย

3.4 แนวทางการรักษาความสงบเรียบร้อย สำรวจจุดที่เกิดเหตุร้ายภัยจากกลุ่มมิจฉาชีพและหามาตรการป้องกัน

3.5 แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด มาตรการในการป้องกันปัญหา โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

4. ยุทธศาสตร์พัฒนาการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว

4.1 แนวทางการส่งเสริมการลงทุน สร้างแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.2 แนวทางการส่งเสริมการเกษตร  ให้ความรู้ทางวิชาการ จัดตั้งกลุ่มเกษตรกร จำหน่ายผลผลิต หาพันธุ์พืช และการบำรุงรักษาดิน

4.3 แนวทางการพาณิชยกรรม หาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการค้าขาย และมาตรการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ค้าขาย

4.4 แนวทางด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน

5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

5.1 แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คุ้มครองดูแลบำรุงรักษาป่าและน้ำแบบบูรณาการ

6. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.1 แนวทางการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้ให้แก่คนในท้องถิ่น

6.2แนวทางการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

6.3 แนวทางการอนุรักษ์ ทำนุบำรุง รักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุในพื้นที่

7. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ

7.1 แนวทางการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

- เสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยม

- สร้างวินัยแก่ทุกภาคส่วน

- รวมพลังแผ่นดินป้องกันและปราบปรามการทุจริต

7.2 แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม

8. ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

8.1 แนวทางพัฒนากลุ่ม อปท.ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

8.2 แนวทางส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคม

8.3 แนวทางส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน

8.4 แนวทางส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว

8.5 แนวทางส่งเสริมด้านการศึกษา

8.6 แนวทางส่งเสริมด้านสาธารณสุข

8.7 แนวทางส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม

8.8 แนวทางส่งเสริมด้านอัตลักษณ์

ส่วนที่ ๔

การติดตามและประเมินผลโครงการ

 

๔.๑  กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล

เนื่องด้วยการติดตามและประเมินผลโครงการเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินงานพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งสามารถชี้ถึงผลการดำเนินงานและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้เป็นไปโดยบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลแผนการพัฒนา  ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย

                   สำหรับการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น  ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548  ข้อ  28   กำหนดให้มีคณะกรรมการ การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น  ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น  ประกอบด้วย

                   -  สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือก                    จำนวน           3        คน

                   -  ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือก         จำนวน           2        คน

                   -  ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก       จำนวน           2        คน

                   -  หัวหน้าส่วนการบริหารที่คัดเลือกกันเอง                     จำนวน           2        คน

                   -  ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก                       จำนวน           2        คน

                   โดยให้คณะกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการและกรรมการอีกคนหนึ่งทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ

                   ในฐานะที่สภาท้องถิ่น มีหน้าที่ในการกำหนดดูแลตรวจสอบ  ติดตามการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร  อีกทั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา  ประกอบจากหลายฝ่ายด้วยกัน ทั้งผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้แทนประชาคมท้องถิ่น  ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก  ซึ่งการที่คณะกรรมการฯ  มาจากหน่วยงานหลายฝ่ายนี้  จะทำให้การติดตามและประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและผลของการประเมินสามารถวัดผลบรรจุและวัดความสำเร็จของโครงการเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขและปรับปรุงการปฏิบัติงานของโครงการได้อย่างแท้จริง

 

๔.๒  ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548  ข้อ ๒๙  ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ไว้ดังนี้

1.  กำหนดแนวทาง  วิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

2.  ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

3.  รายงานผลและเสนอความคิดเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาต่อผู้บริหารท้องถิ่น  เพื่อผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น  คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น  และประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน  อย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง  ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี  ทั้งนี้ให้ติดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

๔.๓  กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล

เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามประเมินผล ตามแนวทางของคู่มือการติดตามและการประเมินผลการจัดทำและแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดขึ้น ประกอบด้วย  แบบรายงาน   3  แบบ  คือ

                   -  แบบประเมินตนเอง   แบบที่  1  การกำกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของ อบต.

                   -  แบบติดตามแผนฯ     แบบที่  2  แบบติดตามผลการดำเนินงานของ อบต.

                   -  แบบประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์   ตามแบบ  3/1  

และใช้เครื่องมือในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล  2  แบบ  คือ

                   -  แบบที่  3/2  แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน อบต.ในภาพรวม

                   -  แบบที่  3/3  แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน อบต.ในภาพรวม   แยกตามยุทธศาสตร์ของ อบต.แต่ละด้าน

        ห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผล

 

ระบบติดตาม

ระบบประเมินผล

ผู้ประเมิน

รายงาน

ระยะเวลา

ผู้ประเมิน

รายงาน

ระยะเวลา

อบต.

1. ใช้แบบรายงานที่  2  แบบติดตามผลการดำเนินงานของ อบต.  รายไตรมาส (3 เดือน)

2. ส่งรายงานให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

ทุกๆ

 3 เดือน

อบต.

1. ใช้แบบรายงานที่ 1 

การกำกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ของ อบต.

2. ส่งรายงานให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

เมื่อ อบต.ประกาศใช้แผน

1. ใช้แบบรายงานที่ 3/1  แบบประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์

2. ใช้แบบรายงานที่ 3/2  แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานของ  อบต. ในภาพรวม

3. ใช้แบบรายงานที่ 3/3  แบบประเมินความพอใจต่อผลการดำเนินงานของ  อบต. ในแต่ละยุทธศาสตร์

4. ส่งรายงานให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

ทุกๆ  1 ปี

(ภายใน ธันวาคม)

คณะติดตามฯ

1. ตรวจสอบรายงาน

2. วิเคราะห์รายงานตามแบบ

3. รายงานผลให้ผู้บริหารทราบ

15 วันนับตั้งแต่รับรายงาน

คณะติดตามฯ

1. ตรวจสอบรายงาน

2. วิเคราะห์รายงานตามแบบ

3. เสนอผู้บริหารทราบ

15 วันนับตั้งแต่รับรายงาน

ผู้บริหาร

1. เสนอสภาเพื่อทราบ

 

2. ประกาศให้ประชาชนทราบ

1.ภายในธันวาคม

2.ประกาศไม่น้อยกว่า30วัน

 

ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 1 : พัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ              
   ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ที่ ๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน               
  1.2 แนวทางการพัฒนา สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ              
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ)   งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
2560   2561 2562
(บาท)   (บาท) (บาท)
1 ก่อสร้างโรงผลิตน้ำดื่ม หมู่ที่ 3 เพื่อให้ประชาชนในตำบลมีน้ำใช้ โรงผลิตน้ำดื่ม 300,000       จำนวนโรงผลิตน้ำดื่มที่ก่อสร้าง ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้อุปโภค- กองช่าง
    สำหรับอุปโภค-บริโภค จำนวน  1  โรง อบต.       บริโภค  
                     
2 ปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต จำนวน 10 แห่ง 493,500       จำนวนประปาที่ปรับปรุงซ่อมแซม ครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ มีร้อยละ  
  หมู่บ้านและตำบล น้ำประปา    อบต.       60 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  
  หมู่ที่ 1-10             ในตำบล  
3 ขยายเขตระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในตำบลมีน้ำ ขยายเขตระบบประปาหมู่บ้าน 1,000,000   1,000,000 1,000,000 จำนวนระบบประปาที่ขยายเขต ครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ มีร้อยละ กองช่าง
  และตำบล ประปาใช้อย่างทั่วถึง และตำบล โดยการขุดฝังท่อ P.V.C.  อบต.   อบต. อบต. 60 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  
  หมู่ที่ 1 -10   ชั้น 8.5  ขนาด Ø 2 นิ้ว ในตำบล         ในตำบล  
                     
4 ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภค จำนวน 1 แห่ง     300,000   จำนวนประปาที่ก่อสร้าง ครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ มีร้อยละ  
  หมู่ที่ 6         อบต.   60 ของจำนวนครัวเรือน กองช่าง
                ทั้งหมดในตำบล  
                     
5 ปรับปรุงระบบประปาหมู่ที่ 5 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต จำนวน 1 แห่ง 460,000       จำนวนประปาที่ปรับปรุงซ่อมแซม ครัวเรือนมีน้ำประปาใช้ มีร้อยละ 60 กองช่าง
    น้ำประปา    อบต.       ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในตำบล  
                     
6 ปรับปรุงซ่อมแซมบ่อบาดาล เพื่อให้ประชาชนในตำบลมีน้ำใช้ ม.1-๑๐  จำนวน 11 จุด 300,000   400,000 400,000 จำนวนบ่อบาดาลที่ปรับปรุง ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้อุปโภค- กองช่าง
    สำหรับอุปโภค-บริโภค   อบต.   อบต. อบต. บริโภค  
        59(219,000)            
                     
7 เจาะบ่อบาดาล หมู่ที่ 1 - 10 เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำสะอาดไว้ จำนวน 10 จุด 400,000   400,000 200,000 จำนวนบ่อบาดาลที่เจาะ ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้อุปโภค-  
    อุปโภค-บริโภค เจาะบ่อบาดาลขนาดØ 6 นิ้ว ความลึกไม่ อบต.   อบต. อบต. บริโภค กองช่าง
      น้อยกว่า 45 ม. หรือได้น้ำไม่น้อย (๕9) 300,๐๐๐            
      กว่า3,000 ลิตร/ช.ม. พร้อมติดตั้งปั๊มน้ำ,              
      ตู้ควบคุมและหอถังเก็บน้ำ              
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ)   งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
2560   2561 2562
(บาท)   (บาท) (บาท)
8 ก่อสร้างถังเก็บน้ำ คสล. เพื่อให้ประชาชนได้มีแหล่งน้ำ ม.3, 7, 9, 10     400,000     400,000     800,000 จำนวนถังเก็บน้ำ คสล.ที่ก่อสร้าง ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้สำหรับ กองช่าง
    สะอาดไว้บริโภค ถังเก็บน้ำคสล. ขนาดความจุ  อบต.   อบต. อบต. อปุโภค-บริโภค  
      50 ลบ.ม. จำนวน 4 ถัง               
                     
9 ผลิตน้ำดื่มชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำสะอาดไว้ ม.๔,๗,๑๐     300,000     300,000     300,000 แหล่งผลิตน้ำดื่มที่ก่อสร้าง ประชาชนในหมู่บ้านมีน้ำสะอาดไว้ กองช่าง
    บริโภค จำนวน 3 แห่ง อบต.   อบต. อบต. บริโภค  
                     
10 ขุดบ่อน้ำตื้น หมู่ที่ ๓ เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำสะอาดไว้ จำนวน 1 บ่อ     50,000   จำนวนบ่อน้ำตื้นที่ขุด ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้อุปโภค- กองช่าง
    อุปโภค-บริโภค       อบต.   บริโภค  
                   
11 ปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน  เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำสะอาดไว้ จำนวน 1 จุด     200,000   จำนวนระบบประปา ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้อุปโภค- กองช่าง
  หมู่ที่ 10 อุปโภค       อบต.   ที่ปรับปรุง บริโภค  
                     
๑๒ ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อ เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำสะอาดไว้ จำนวน 1 จุด     50,000   จำนวนแผงโซล่าเซล์ ประชาชนมีน้ำสำหรับอุปโภค กองช่าง
  สูบน้ำบาดาล อุปโภค       อบต.   ที่ติดตั้ง บริโภค  
                     
๑๓ ติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะ  เพื่อให้ประชาชนเกิดความปลอดภัย ม.1-10 200,000       จำนวนไฟฟ้า ประชาชนความปลอดภัยใน กองช่าง
  หมู่ที่ 1- 10  ในการสัญจรช่วงเวลากลางคืน จำนวน 40 จุด อบต.       ส่องสว่างที่ติดตั้ง การเดินทางสัญจร  
                     
๑๔ ปรับปรุงซ่อมแซมไฟส่องสว่าง เพื่อให้ประชาชนเกิดความปลอดภัย ม.1-10 100,000       จำนวนไฟฟ้าส่องสว่างที่ปรับปรุงซ่อมแซม ประชาชนเกิดความปลอดภัยใน กองช่าง
  สาธารณะ ม.1-10 ในการสัญจรช่วงเวลากลางคืน   อบต.       การสัญจร เดินทาง  
                     
๑๕ ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่าง ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร 3,000,000       จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำเกษตรกรรม ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำเกษตรกรรม  กองช่าง
    สะดวกสำหรับทำเกษตรกรรม ถนนสายทุ่งหนองไหล  อบต. ,กฝภ.        
      หมู่ที่ 1, 4 , 5 ,6            
๑๖ ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่าง ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร 1,000,000       เกษตรกรมีไฟฟ้าใช้สำหรับการผลิตปุ๋ย เกษตรกรมีไฟฟ้าใช้สำหรับทำการผลิตปุ๋ย กองช่าง
    สะดวกสำหรับทำเกษตรกรรม ถนนสายปากนบ  หมู่ที่ 5 อบต. ,กฝภ.        
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ)   งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
2560   2561 2562
(บาท)   (บาท) (บาท)
17 ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่าง ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร 1,000,000       จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำเกษตรกรรม  กองช่าง
    สะดวกสำหรับทำเกษตรกรรม ถนนสายเขาหนาด หมู่ที่ ๒ อบต. ,กฝภ.        
                     
18 ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่าง ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร 1,000,000       จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำเกษตรกรรม  กองช่าง
    สะดวกสำหรับทำเกษตรกรรม ถนนสาย รพช. หมู่ที่ ๙ - หมู่ที่ ๒ อบต. ,กฝภ.        
                     
19 ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่าง จำนวน 10 จุด 3,000,000   3,000,000 4,000,000 จำนวนครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้มีร้อยละ 100 กองช่าง
  หมู่ที่ 1-10 สะดวก   อบต. ,กฝภ.   อบต. ,กฝภ. อบต. ,กฝภ. ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  
                  ในตำบล  
20 ก่อสร้างหอถังจ่ายน้ำประปา เพื่อให้ประชาชนได้มีแหล่งน้ำ หอถังจ่ายน้ำแบบฐานเหล็ก     300,000       จำนวนหอถังจ่ายน้ำที่ก่อสร้าง ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้สำหรับ กองช่าง
  หมู่ที่ 3 สะอาดไว้บริโภค พร้อมถังเก็บน้ำพลาสติก อบต.       อปุโภค-บริโภค  
                     

 

ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 2  การพัฒนาครอบครัวชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพ              
   ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ที่ ๒ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต              
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต                
  2.1 แนวทางการพัฒนา ด้านการส่งเสริมอาชีพ                
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
(ผลผลิตของโครงการ) 2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
1 สนับสนุนกลุ่มอาชีพเลี้ยงโคขุน  เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ จำนวน 10 กลุ่ม 10,000       40,000 50,000 จำนวนกลุ่มอาชีพ ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สำนักปลัด
  หมู่ที่ 1-10 เสริม       อบต.   ที่ได้สนับสนุน    
                     
2 สนับสนุนกลุ่มอาชีพทำ จำนวนกลุ่มอาชีพที่ได้สนับสนุน จำนวน 10 กลุ่ม  20,000   40000 40000 จำนวนกลุ่มอาชีพ ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สำนักปลัด
  ดอกไม้จันท์ หมู่ที่ 1 - 10     อบต.   อบต. อบต. ที่ได้สนับสนุน    
                     
3 สนับสนุนกลุ่มอาชีพทำไม้กวาด เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ จำนวน 10 กลุ่ม  20,000       40,000    40,000 จำนวนกลุ่มอาชีพที่ได้ส่งเสริม ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สำนักปลัด
  ดอกอ้อ หมู่ที่ 1 -  10 เสริม    อบต.     อบต.   อบต.  ได้สนับสนุน    
                     
                     
4 ส่งเสริมกลุมอาชีพการเลี้ยง เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ จำนวน 10 กลุ่ม         50,000    50,000 จำนวนกลุ่มอาชีพที่ได้ส่งเสริม ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สำนักปลัด
  ไก่ไข่  หมู่ที่ 1 - 10 เสริม        อบต.   อบต.  ได้ส่งเสริม    
                     
5 สนับสนุนกลุ่มอาชีพการผลิต เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้ จำนวน  10  กลุ่ม  20,000       40,000    40,000 จำนวนกลุ่มอาชีพ ลดต้นทุนการผลิตทาง สำนักปลัด
  ปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ หมู่ที่ 1 - 10 เกษตรกรในตำบลท่าหิน    อบต.     อบต.   อบต.  ได้ส่งเสริม การเกษตร  
                     
6 อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรได้มีความรู้ในการ จำนวน 1 ครั้ง  40,000       40,000    40,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน เกษตรกรประกอบอาชีพอย่างถูกต้อง สำนักปลัด
  ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน / ยางพารา ประกอบอาชีพเกษตร    อบต.      อบต.   อบต.  กิจกรรม  
                     
                     
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
(ผลผลิตของโครงการ) 2560   2561 2562
   (บาท)     (บาท)   (บาท) 
                     
7 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมการผลิต เพื่อให้เกษตรกรลดปัญหาค่าใช้จ่าย จำนวน 3 ครั้ง  20,000       20,000    20,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน เกษตรกรสามารถลดปัญหาค่าใช้ สำนักปลัด
  แตนเบียนกำจัดแมลงตำหนาม ในการกำจัดศัตรูพืช    สนง./เกษตร     สนง./เกษตร   สนง./เกษตร  กิจกรรม จ่ายในการกำจัดศัตรูพืช  
         จังหวัด     จังหวัด   จังหวัด       
                     
8 ฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรใน เพื่อให้สภาพดินได้รับการปรับปรุง จำนวน 3 ครั้ง  20,000       20,000    20,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน เกษตรกรมีความรู้ในการประกอบ สำนักปลัด
  การปรับปรุงสภาพดิน ให้ดีขึ้นทำให้ได้รับผลผลิตได้อย่าง    อบต.      อบต.   อบต.  กิจกรรม อาชีพเกษตร  
    เต็มที่                
                     
9 อบรมวิชาชีพระยะสั้นแก่ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ จำนวน 3 ครั้ง  20,000       20,000    20,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน ประชาชนมีอาชีพและรายได้ สำนักปลัด
  ประชาชนในตำบล เสริม    สนง.แรงงานฯ     สนง.แรงงานฯ   สนง.แรงงานฯ  กิจกรรม    
                     
10 ต่อเติมปรับปรุงร้านค้าชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ จำนวน 1 แห่ง         50,000   จำนวนครั้งที่ดำเนิน ประชาชนในหมู่ที่ 3 มีอาชีพ กองช่าง
  หมู่ที่ 3 เสริม        อบต.    กิจกรรม และรายได้เพิ่มขึ้น  
                     
11 ก่อสร้างศูนย์บริการเครื่องมือช่าง เพื่อให้ประชาชนได้มีศูนย์บริการ จำนวน 1 ศูนย์        100,000 จำนวนศูนย์บริการฯ ประชาชนมีศูนย์บริการ สำนักปลัด
  และเครื่องมือการเกษตร หมู่ที่ 5 เครื่องมือช่างและการเกษตร          อบต.  ที่ก่อสร้าง เครื่องมือช่างและการเกษตร  
                     
12 ก่อสร้างโรงเรือนอบข้าว หมูที่ 7 เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ ขนาดกว้าง 4 ม. ยาว 8 ม.        200,000 จำนวนโรงเรือนอบ ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่ม กองช่าง
    เสริม          อบต.  ข้าวที่ก่อสร้าง ขึ้น  
                     
13 สนับสนุนโรงสีชุมชน  หมู่ที่ 7 เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับโรงสีชุมชน สนับสนุนงบประมาณ          20,000   จำนวนครั้งที่ดำเนิน โรงสีชุมชน มีผลผลิตจำหน่าย สำนักปลัด
      จำนวน 1 ครั้ง      อบต.    กิจกรรม แก่ประชาชนในราคาต่ำ  
                     
                     
                     
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
(ผลผลิตของโครงการ) 2560   2561 2562
   (บาท)     (บาท)   (บาท) 
14 ส่งเสริมการจัดทำของที่ระลึก  เพื่อให้ประชาชนได้ฝึกอาชีพและ จำนวน 1 ครั้ง         20,000   จำนวนครั้งที่ดำเนิน ลดปัญหาการว่างงานของคนวัย สำนักปลัด
    ลดปัญหาการว่างงาน        อบต.    กิจกรรม ทำงาน  
                     
15 สนับสนุนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี  เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้รับรู้ สนับสนุนงบประมาณ  20,000       20,000    20,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูล สำนักปลัด
  ตำบลท่าหิน ข่าวสาร เทคโนโลยีที่ทันสมัย จำนวน 3 ครั้ง  อบต.     อบต.   อบต.  กิจกรรม ข่าวสารที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น  
                     
16 ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้า เพื่อให้เพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร จำนวน 3 ครั้ง  20,000       20,000    20,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน เกษตรกรสามารถจำหน่าย สำนักปลัด
  ทางการเกษตร      อบต.     อบต.   อบต.  กิจกรรม ผลผลิตที่มีราคาสูงขึ้น  
                     
17 เกษตรปราณีต เพื่อให้ประชาชนมีผลผลิตทางการ สนับสนุนงบประมาณ         20,000   จำนวนครั้งที่ดำเนิน ประชาชนมีผลิตทางการเกษตร  
    เกษตรในการบริโภคหมุนเวียนตลอดปี จำนวน 1 ครั้ง      อบต.    กิจกรรม ในการอุปโภคและเกิดรายได้จาก  
                  การจำหน่ายตลอดปี  
                     
ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 2  การพัฒนาครอบครัวชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพ              
   ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ที่ ๒ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต              
  2.2 แนวทางการพัฒนา ด้านสวัสดิการสังคม                
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
(ผลผลิตของโครงการ) 2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
1 สงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ จ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ 5,958,000   5,958,000 5,958,000 จำนวนผู้สูงอายุที่ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและให้ความ สำนักปลัด
      จำนวน  735   คน อบต.   อบต. อบต. ได้รับการสงเคราะห์ ช่วยเหลือ  
                     
2 สงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้พิการ เพื่อส่งเสริมสวัสดิการแก่ผู้พิการ จ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้พิการ 582,000   582,000 582,000 จำนวนผู้พิการที่ได้ ผู้พิการได้รับการดูแลและให้ความ สำนักปลัด
  หมู่ที่ 1-10   จำนวน 97 คน อบต.   อบต. อบต. สงเคราะห์ ช่วยเหลือ  
                     
สงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ เพื่อส่งเสริมสวัสดิการแก่ จ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้ป่วยเอดส์ 60,000   60,000 60,000 จำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่ ผู้ป่วยเอดส์ได้รับการดูแลและให้ สำนักปลัด
  หมู่ที่ 1-10 ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน  10 คน อบต.   อบต. อบต. ได้สงเคราะห์ ความช่วยเหลือ  
                     
สงเคราะห์เงินทุนแก่ครัวเรือน เพื่อส่งเสริมสวัสดิการแก่ผู้ที่ยากจน  จำนวน 30  ทุน 60,000   60,000 60,000 จำนวนผู้สูงอายุ   ผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับ สำนักปลัด
  ยากจนและผู้ด้อยโอกาส และผู้ด้อยโอกาส   อบต.,   อบต., อบต., ผู้ด้อยโอกาสที่ได้ การช่วยเหลือจากสังคม  
  หมู่ที่ 1-10     ศพส.11,   ศพส.11, ศพส.11, สงเคราะห์    
        พมจ.ชุมพร   พมจ.ชุมพร พมจ.ชุมพร      
                     
สนับสนุนกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 3 ครั้ง 10,000   10,000 10,000 จำนวนครั้งที่ได้สนับสนุน สตรีในตำบลท่าหินมีบทบาท สำนักปลัด
  ตำบลท่าหิน  หมู่ที่ 1-10 ในตำบล   อบต.   อบต. อบต. สนับสนุน ในสังคมเพิ่มมากขึ้น  
                     
6 เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดู เพื่อให้เด็กแรกเกิดซึ่งครอบครัว เด็กแรกเกิด จำนวน 20 คน 144,000   144,000 144,000 จำนวนครัวเรือน เด็กแรกเกิดได้รับสวัสดิการจากรัฐ สำนักปลัด
  เด็กแรกเกิด มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับการเลี้ยง   อบต.   อบต. อบต. ที่ได้ดำเนินการ    
    ดูแลจากรัฐ   พมจ.ชุมพร   พมจ.ชุมพร พมจ.ชุมพร      
                     
จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไปตำบลท่าหิน เพื่อให้ผู้พิการในตำบลมีสถานที่อำนวยความสะดวกการรับบริการจากหน่วยงานของรัฐ จำนวน 1 ศูนย์    10,000   อบต.        จำนวนศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้ง ผู้พิการในตำบลได้รับบริการจากหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สำนักปลัด
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
(ผลผลิตของโครงการ) 2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
ตรวจเยี่ยมเยือนดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ จัดกิจกรรมเยื่ยมบ้านผู้สูงอายุจำนวน 1 ครั้ง    10,000   อบต., พมจ.       10,000   อบต., พมจ.     10,000   อบต., พมจ.  จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลือ สำนักปลัด
    ในตำบล จำนวน 3  ครั้ง         ดำเนินกิจกรรม ดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ  
                     
ตรวจเยี่ยมเยือนดูแลผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการได้รับการช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้พิการในตำบล จำนวน 3 ครั้ง    10,000   อบต., พมจ.       10,000   อบต., พมจ.     10,000   อบต., พมจ.  จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้พิการได้รับการช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ สำนักปลัด
                     
๑๐ จัดหาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการได้รับการช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ จัดอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถเข็น ฯลฯ แก่ผู้พิการในตำบล    10,000   อบต.       10,000   อบต.     10,000   อบต.  จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้พิการได้รับการช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ สำนักปลัด
                     
11 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ เด็ก และคนชรา เพื่อให้ผู้พิการ เด็ก คนชรา ได้รับการอำนวยความสะดวกในการมารับบริการ ของ อบต. ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสถานที่ของ อบต. เช่น ทางลาด, ห้องน้ำคนพิการ, อ่างล้างหน้าคนพิการ, ประตูห้องน้ำ, ที่จอดรถ, ป้ายสัญญลักษณ์ 10,000 อบต.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้พิการ เด็ก คนชรา ได้รับการอำนวยความสะดวกในการมารับบริการ ของ อบต. สำนักปลัด
๑๒ สนับสนุนกองทุนสวัสดิการ เพื่อให้ประชาชนในตำบลท่าหิน สนับสนุนงบประมาณใน 50,000   50,000 50,000 จำนวนครั้งที่ ประชาชนได้รับสวัสดิการชุมชน สำนักปลัด
  ชุมชนตำบล มีกองทุนสวัสดิการชุมชน การดำเนินกิจกรรม 3 ครั้ง อบต.   อบต. อบต. ที่สนับสนุน    
                     
13 สนับสนุนศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลท่าหิน เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการทำงานด้านเฝ้าระวังคุ้มครองครอบครัวแก่คนชุมชน สนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรม อย่างน้อย 3 กิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง 20,000 พมจ.ชุมพร   20,000 พมจ.ชุมพร 20,000 พมจ.ชุมพร จำนวนศูนย์พัฒนาครอบครัวที่ได้รับการส่งเสริม ครอบครัวในชุมชนได้รับการช่วยเหลือดูแล สำนักปลัด
                     
14 สนับสนุนชมรมออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมา สนับสนุนงบประมาณในการดำเนิน 50,000       จำนวนครั้งที่ ประชาชนร่วมกันทำกิจกรรม สำนักปลัด
  หมู่ที่ 4 สนใจการออกกำลังกาย กิจกรรม 1 ครั้ง สปสช.       สนับสนุน ออกกำลังกาย ใส่ใจการดูแล  
ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 2  การพัฒนาครอบครัวชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพ              
   ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ที่ 2  การส่งเสริมคุณภาพชีวิต              
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต                
  2.3 แนวทางการพัฒนา ด้านการศึกษา                
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
1 อุดหนุนอาหารกลางวันสำหรับ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ โรงเรียนบ้านหนองปลา 664,000   664,000 664,000 จำนวนเด็กที่ได้รับ เด็กนักเรียนมีสุขภาพ สำนักปลัด
  เด็กอนุบาลและเด็กนักเรียน ที่แข็งแรงสมบูรณ์   อบต.   อบต. อบต. อาหารกลางวัน ที่แข็งแรงสมบูรณ์  
                     
2 อุดหนุนอาหารกลางวันสำหรับ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ โรงเรียนบ้านหาดทรายรี 360,000   360,000 360,000 จำนวนเด็กที่ได้รับ เด็กนักเรียนมีสุขภาพ สำนักปลัด
  เด็กอนุบาลและเด็กนักเรียน ที่แข็งแรงสมบูรณ์   อบต.   อบต. อบต. อาหารกลางวัน ที่แข็งแรงสมบูรณ์  
                     
3 อุดหนุนอาหารกลางวันสำหรับ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ โรงเรียนวัดท่าหิน 332,000   332,000 332,000 จำนวนเด็กที่ได้รับ เด็กนักเรียนมีสุขภาพ สำนักปลัด
  เด็กอนุบาลและเด็กนักเรียน ที่แข็งแรงสมบูรณ์ (ดรุณศึกษา) อบต.   อบต. อบต. อาหารกลางวัน ที่แข็งแรงสมบูรณ์  
                     
4 อาหารเสริม(นม) สำหรับ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพ โรงเรียนในตำบล  650,000   650,000 650,000 จำนวนเด็กที่ได้รับ เด็กนักเรียนมีสุขภาพ สำนักปลัด
  เด็กนักเรียน ที่แข็งแรงสมบูรณ์ จำนวน ๓ โรง อบต.   อบต. อบต. อาหารเสริม (นม) ที่แข็งแรงสมบูรณ์  
                     
5 อาหารกลางวันสำหรับ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพ ศพด.บ้านท่าหิน 250,000   250,000 250,000 จำนวนเด็กเล็กที่ได้รับ เด็กเล็กมีสุขภาพ สำนักปลัด
  เด็กเล็ก ที่แข็งแรงสมบูรณ์   อบต.   อบต. อบต. อาหารกลางวัน ที่แข็งแรงสมบูรณ์  
                     
6 อาหารเสริม (นม) เพื่อให้เด็กเล็กมีสุขภาพ ศพด.บ้านท่าหิน 95,000   95,000 95,000 จำนวนเด็กเล็กที่ได้รับอาหารเสริม(นม) เด็กเล็กมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ สำนักปลัด
  สำหรับเด็กเล็ก ที่แข็งแรงสมบูรณ์   อบต.   อบต. อบต. อาหารเสริม (นม) ที่แข็งแรงสมบูรณ์  
                     
7 พัฒนาปรับปรุงซ่อมแซม เพื่อส่งเสริมการบริหารจัด ศพด.บ้านท่าหิน จำนวน 3 ครั้ง  300,000     300,000  300,000 จำนวนศูนย์พัฒนา การจัดการเรียนการสอน กองช่าง
  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การเรียนการสอนระดับ เช่น ปรับปรุงอาคาร  อบต.   อบต. อบต. เด็กเล็กที่ปรับปรุงซ่อมแซม แก่เด็กก่อนวัยเรียนผ่าน สำนักปลัด
    ก่อนวัยเรียนให้มีมาตรฐาน และพื้นที่บริเวณโดยรอบ            เกณฑ์มาตรฐานของกรมฯ  
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
8 ส่งเสริมกิจกรรมการเรียน เพื่อเพิ่มศักยภาพของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าหิน 60,000   60,000 60,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน การจัดการเรียนการสอน สำนักปลัด
  ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศพด.ให้มีความพร้อม จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนสื่อ อบต.   อบต. อบต. กิจกรรม แก่เด็กก่อนวัยเรียนผ่าน  
    ในการจัดการเรียนการสอน การสอน           เกณฑ์มาตรฐานของกรมฯ  
                     
9 ก่อสร้างและปรับปรุงสถานศึกษา ร.ร.บ้านหาดทรายรี เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมสถานศึกษาให้ดีขึ้น ก่อสร้างรั้ว / จัดหาครุภัณฑ์      240,000   จำนวนรั้วที่ก่อสร้าง โรงเรียนได้รับการปรับปรุง สำนักปลัด
  เครื่องเล่นสนาม     อบต.     ซ่อมแซมให้พร้อมในการจัด  
      ขนาดสูง 1.50 ม. ยาว 200 ม.           การเรียนการสอน  
                     
10 อินเตอร์เน็ตตำบล เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน จุดบริการอินเตอร์เน็ต  40,000   40,000 40,000 จำนวนจุดบริการ ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ สำนักปลัด
  บริการประชาชน ได้รับรู้ข่าวสาร  แบบไร้สาย wifi จำนวน 1 จุด อบต.   อบต. อบต. อินเตอร์เน็ตตำบล  
    เทคโนโลยีที่ทันสมัย              
                     
11 สงเคราะห์เด็กภายในครอบครัว เพื่อสงเคราะห์เงินทุนการ จัดทุนการศึกษา 100 ทุน 85,000   85,000 85,000 จำนวนเด็กที่ได้รับการสงเคราะห์ เด็กในตำบลท่าหินได้รับ สำนักปลัด
    ศึกษาแก่เด็กภายในครอบครัว   อบต.   อบต. อบต. การสงเคราะห์  
                     
12 กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติของ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้กล้าคิดกล้า อุดหนุนงบประมาณจัดกิจกรรมแก่โรงเรียนในตำบล 3โรง 30,000   30,000 30,000 จำนวนเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรม เด็กได้กล้าคิดกล้าแสดงออก สำนักปลัด
  เด็กและนักเรียน แสดงออกในทางที่เหมาะสม อบต.   อบต. อบต. ในทางที่เหมาะสม  
                   
                     
13 ก่อสร้างรั้วรอบศูนย์พัฒนา  เพื่อส่งเสริมการบริหารจัด จำนวน 1 แห่ง 300,000       จำนวนรั้วที่ก่อสร้าง การจัดการเรียนการสอน กองช่าง
  เด็กเล็กบ้านท่าหิน การเรียนการสอนระดับ   อบต.         แก่เด็กก่อนวัยเรียนผ่าน สำนักปลัด
    ก่อนวัยเรียนให้มีมาตรฐาน             เกณฑ์มาตรฐานของกรมฯ  
                     
14 ปรับปรุงสนามเด็กเล่น เพื่อส่งเสริมการบริหารจัด ติดตั้งโครงหลังคาสนามเด็กเล่น 300,000       จำนวนสนามเด็กเล่น การจัดการเรียนการสอน กองช่าง
  ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การเรียนการสอนระดับ และปรับปรุงพื้นที่ อบต.       ที่ปรับปรุง แก่เด็กก่อนวัยเรียนผ่าน สำนักปลัด
  บ้านท่าหิน ก่อนวัยเรียนให้มีมาตรฐาน สนามเด็กเล่น           เกณฑ์มาตรฐานของกรมฯ  
                     
                     
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
                    สำนักปลัด
                     
                     
                     
                    สำนักปลัด
                     
                     
                     
                    สำนักปลัด
                     
                     
                     
                    สำนักปลัด
                     
                     
                     
                    สำนักปลัด
                   
                   
                     
                    สำนักปลัด
                     
ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 2  การพัฒนาครอบครัวชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพ              
   ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ที่ ๒ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต              
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต                
  2.4 แนวทางการพัฒนา ด้านการสาธารณสุข การส่งเสริมสุขพลามัยของประชาชน              
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
1 ป้องกันโรคติดต่อ โรคระบาด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ ซื้ออุปกรณ์และสารเคมีฉีดป้องกัน 70,000   70,000 70,000 จำนวนครั้งที่ สถิติการเกิดโรคไข้เลือดออก สำนักปลัด
  ในตำบล โรคต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ไข้เลือดออก พาหะนำเชื้อโรคต่างๆ เช่นมาเลเรีย อบต.   อบต. อบต. ดำเนินกิจกรรม มาลาเรียลดลง  
    มาเลเรีย อุจจาระร่วง เป็นต้น ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง ฯลฯ              
                     
2 ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค จัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  70,000   70,000 70,000 จำนวนครั้งที่ ไม่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ สำนักปลัด
    พิษสุนัขบ้าในพื้นที่ และเวชภัณฑ์ในการทำหมันสุนัข อบต.   อบต. อบต. ดำเนินกิจกรรม และลดจำนวนสุนัขและแมว  
      และแมว จำนวน 1 ครั้ง              
                     
อบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม. เพื่อฟื้นฟูศักยภาพในการปฏิบัติ จัดฝึกอบรมฟื้นฟูศักยภาพ 10,000   10,000 10,000 จำนวน อสม.ที่ได้ อสม.ในตำบลได้รับการฝึกอบรม สำนักปลัด
  หมู่บ้าน แก่ อสม.หมู่บ้าน การปฏิบัติงานของอสม. หมู่บ้าน อบต.   อบต. อบต. เข้ารับการอบรม ฟื้นฟูศักยภาพในการปฏิบัติงาน  
                     
จัดหาวัสดุกีฬาให้ศูนย์กีฬา เพื่อส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬาเพื่อ ซื้ออุปกรณ์กีฬาให้กับศูนย์กีฬา 30,000   30,000 30,000 จำนวนครั้งที่ ประชาชนในตำบลหันมาสนใจเล่น สำนักปลัด
  หมู่บ้านและตำบล สุขภาพ หมู่บ้านและตำบล อบต.   อบต. อบต. ดำเนินกิจกรรม กีฬาเพื่อสุขภาพ  
                     
ส่งเสริมขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีแก่ สนับสนุนกิจกรรมการปั่นจักรยาน 20,000   20,000 20,000 จำนวนครั้งที่ ประชาชนมีสุขภาพที่ดี สำนักปลัด
    ประชาชน ของชมรมจักรยานท่าหินสัมพันธ์ อบต.   อบต. อบต. ดำเนินกิจกรรม    
                     
ก่อสร้างอาคารสนามกีฬา เพื่อให้ประชาชนได้สนใจเล่น จำนวน 1 หลัง     500,000   จำนวนอาคารที่ก่อสร้าง ประชาชนในมีสถานที่ กองช่าง
  เอนกประสงค์ หมู่ที่ 1 กีฬาเพื่อสุขภาพ       อบต.   เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัย  
                     
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
สนับสนุนชมรมออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้สนใจเล่น จำนวน 3 ครั้ง 10,000   10,000 10,000 จำนวนครั้งที่ ประชาชนในพื้นที่ได้ สำนักปลัด
  ตำบลท่าหิน กีฬาเพื่อสุขภาพ   อบต.   อบต. อบต. ดำเนินกิจกรรม ออกกำลังกาย  
                     
ก่อสร้างลานกีฬา หมู่ที่ 6 เพื่อให้ประชาชนได้สนใจเล่น จำนวน 1 แห่ง พร้อม     200,000   จำนวนลานกีฬา ประชาชนมีสถานที่ กองช่าง
    กีฬาเพื่อสุขภาพ อุปกรณ์กีฬาต่างๆ     อบต.   ที่ก่อสร้าง เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัย  
                     
ก่อสร้างสวนสาธารณะ หมู่ที่ 6 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีสถานที่ จำนวน 1 แห่ง       300,000 จำนวนทางเท้า ประชาชนมีสถานที่สำหรับ กองช่าง
    สำหรับพักผ่อน และออกกำลังกาย ทางเดิน-วิ่ง รอบสระน้ำห้วยปลิง       อบต. ที่ก่อสร้าง ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัย  
                     
๑๐ ก่อสร้างสวนสุขภาพ หมู่ที่ 1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีสถานที่สำหรับพักผ่อน และออกกำลังกาย จำนวน 1 แห่ง       150,000 จำนวนสวนสุขภาพที่ก่อสร้าง ประชาชนในพื้นที่มีสวนสุขภาพไว้สำหรับพักผ่อนและออกกำลังกาย กองช่าง
            อบต.  
                     
๑๑ ปรับปรุงซ่อมแซมสนามกีฬา เพื่อให้ประชาชนได้สนใจเล่น สนามกีฬา รร.บ้านหนองปลา 100,000       จำนวนสนามกีฬา ประชาชนในพื้นที่ได้ออก กองช่าง
  หมู่ที่ 7 กีฬาเพื่อสุขภาพ   อบต.       ที่ปรับปรุงซ่อมแซม กำลังกาย  
                     
๑๒ จัดส่งทีมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ส่งเสริมทีมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 200,000   200,000 200,000 จำนวนครั้งที่ดำเนิน ประชาชนเข้าร่วมการแข่งขัน สำนักปลัด
  กีฬา แข่งขันกีฬาระดับอำเภอและจังหวัด กีฬาประเภทต่างๆ เช่น อบจ.คัพ, อบต.   อบต. อบต. กิจกรรม กีฬาประเภทต่างๆ  ในระดับ  
      กีฬาเยาวชน, กีฬาเรือพายและกีฬาอื่นๆ           อำเภอและจังหวัด  
      กีฬาในอำเภอ และจังหวัด              
                     
๑๓ สนับสนุนกิจกรรม เพื่อให้ประชาชนในตำบลท่าหิน สมทบงบประมาณกองทุน 100,000   100,000 100,000 จำนวนครั้งที่ ประชาชนได้รับการบริการด้าน สำนักปลัด
  หลักประกันสุขภาพประจำตำบล มีกองทุนด้านสุขภาพประจำตำบล หลักประกันสุขภาพ อบต.ท่าหิน อบต.   อบต. อบต. สนับสนุน สุขภาพถ้วนหน้า  
                     
                     
                     
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
๑๔ ก่อสร้างลานกีฬา หมู่ที่ 10 เพื่อให้ประชาชนได้สนใจเล่น จำนวน 1 แห่ง พร้อม     200,000   จำนวนลานกีฬา ประชาชนในหมู่ที่10 มีสถานที่ กองช่าง
    กีฬาเพื่อสุขภาพ อุปกรณ์กีฬาต่างๆ     อบต.   ที่ก่อสร้าง เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัย  
                     
๑๕ สนับสนุนการพัฒนางาน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้าน อุดหนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรม 150,000   150,000 150,000 จำนวนครั้งที่ การดำเนินงานด้านสาธารณสุข สำนักปลัด
  สาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้าน สาธารณสุขของศูนย์สาธารณสุข ด้านสาธารณสุขของหมู่บ้าน อบต.   อบต. อบต. ดำเนินกิจกรรม ของตำบลมีประสิทธิภาพและทั่วถึง  
    มูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน  ๑๐ หมู่บ้าน              
                     
๑๖ ตรวจสุขภาพประจำปีต่อเนื่องเชิงรุกในตำบลท่าหิน เพื่อให้ประชาชนอายุ 30  ปีขึ้นไปได้รับการตรวจ อุดหนุน งปม. อสม. จำนวน 10 หมู่บ้าน ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและคัดกรองเบาหวาน 75000  อบต.   75000  อบต. 75000  อบต. จำนวนครั้งที่กิจกรรม ประชานได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 สำนักปลัด
                     
๑๗ สนับสนุนค่าพาหนะ เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้กินยา ค่าพาหนะแก่ผู้ป่วยวัณโรค 10,800   10,800 10,800 จำนวนครั้งที่ ผู้ป่วยวัณโรคได้กินยา สำนักปลัด
  แก่ผู้ป่วยวัณโรค ต่อเนื่องครบถ้วน จำนวน 3 คน อบต.   อบต. อบต. ดำเนินกิจกรรม ครบตามกำหนด  
                     
๑๘ ส่งเสริมให้เด็กแรกเกิด เพื่อให้เด็กเกิดมีสุขภาพร่างกาย เด็กแรกเกิดในหมู่ที่ 1-10 10,000   10,000 10,000 จำนวนเด็กแรกเกิด เด็กแรกเกิดมีสุขภาพ สำนักปลัด
  ได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 ที่แข็งแรงมีภูมิคุ้มกันโรค   อบต.   อบต. อบต. ที่ได้รับการส่งเสริม แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรค  
  เดือน                  
                     
19 ปรับปรุงสนามกีฬา หมู่ที่ 5 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีสถานที่ ปรับปรุงโดยทำพื้นสนามแบบยาง          100,000   จำนวนสนามกีฬาที่ ประชาชนมีสถานที่สำหรับ กองช่าง
    สำหรับพักผ่อน และออกกำลังกาย ติดตั้งระบบไฟส่องสว่าง     อบต.   ได้รับการปรับปรุง ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัย  
                     
๒๐ สำรวจแฟ้มครอบครัว       หมู่ที่ 1 - 10 เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสม.ให้เป็นนักจัดการข้อมูลสุขภาพ อุดหนุน งปม.แก่ รพ.สต.ท่าหิน  จัดทำแฟ้มครอบครัว  จำนวน ๑,๓๖๐ ครอบครัว   27,200 กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม เกิดการนำพาสุขภาวะของประชาชนในตำบลในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักปลัด
                     
                  .  
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
๒๑ ตรวจคัดกรองตาต้อกระจกในผู้สูงอายุต่อเนื่อง ตำบลท่าหิน ปี งปม. ๒๕60 เพื่อตรวจหาตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ อุดหนุน งปม. รพ.สต.ท่าหิน จัดกิจกรรม ทีมสุขภาพ ๕๐ คน และผู้สูงอายุ ๗๐๐  คน  10,000   กองทุน สปสช.        จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้สูงอายุได้รับการดูแลด้านสุขภาพ สำนักปลัด
๒๒ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กวัยเรียน ตำบลท่าหิน ปี ๒๕60 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ความร่วมมือกับชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน อุดหนุน งปม. รพ.สต.ท่าหิน จัดกิจกรรม ในรร.บ้านหนองปลา,บ้านหาดทรายรี,วัดท่าหิน จำนวนนักเรียน ๒๕๐ คน 2,000 กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม นักเรียนในตำบลได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัย สำนักปลัด
๒๓ ชุมชนเข้มแข็งร่วมแรงออกกำลังกาย ต่อเนื่อง ปี ๒๕60 เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อุดหนุน งปม.  ชมรม อสม.ตำบลท่าหิน  จัดตั้งชมรมออกกำลังกาย  และจัดกิจกรรมออกกำลังกาย  24,000 กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ประชาชนได้ออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำนักปลัด
๒๔ เยี่ยมถึงเรือนเยือนถึงบ้าน ต่อเนื่อง ปี งปม. ๒๕60 เพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลตามกิจกรรม Home Health Care จากทีมสุขภาพ อุดหนุน งปม.  ชมรม อสม.ตำบลท่าหิน  จัดทีมสุขภาพ อสม. จำนวน ๑๐๐ คน , ผู้ป่วย/ผู้พิการ/ผู้สูงอายุ จำนวน ๖๐๐ คน ๓๐,000 กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้ป่วย/ผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลตามกิจกรรม Home Health Care จากทีมสุขภาพ สำนักปลัด
๒๕ ยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดีต่อเนื่อง ปี งปม. ๒๕60 เพื่อให้ อสม. มีความรู้และมีทักษะในการใช้ฟลูออไรด์ และเพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน อุดหนุน งปม.  ชมรม อสม.ตำบลท่าหิน  จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพปากเด็ก ๐-3 ปี ๑4,000 กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม เด็ก ๐-3 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปาก สำนักปลัด
26 พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ ตำบลท่าหิน ปี งปม. ๒๕60 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลข่าวสาร มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเคลื่อนไหวของชมรม อุดหนุน งปม.ชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมสันทนาการ ตรวจวัดความดันโลหิต น้ำตาล จำนวน ๑๒ ครั้ง ๑๘,๐๐๐ กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้สูงอายุได้มีเวทีพบปะแลกเปลี่ยนร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ สำนักปลัด
๒๗ ส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการปฏิบัติธรรม(เฉลิมพระเกียรติ  ธันวามหาราช (๕ ธันวาคม ๒๕60) เพื่อให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (ร่างกาย  จิตใจ สังคม) สนับสนุน งปม.ชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมบวชชี พราหมณ์ จำนวน ๕๐ คน 18,0๐๐ กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้สูงอายุได้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สำนักปลัด
                     
ที่ โครงการ วัตถุประสงค์       เป้าหมาย           งบประมาณและที่ผ่านมา ตัวชี้วัด (KPI) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
 (ผลผลิตของโครงการ)   2560   2561 2562
  (บาท)   (บาท) (บาท)
๒๘ ตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เพื่อผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแลรักษา และติดตามเยี่ยมเยือน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สนับสนุน งปม.ชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมคัดกรองสภาวะสุขภาพโดย อสม.   จำนวนผู้สูงอายุ 775 คน เพิ่มสุขภาพ จำนวน 100 คน 20,000 กองทุน สปสช.       จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแลรักษา และติดตามเยี่ยมเยือน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สำนักปลัด
                     
๒๙ ตรวจสุขภาพประชาชน ประจำปี 2560             หมู่ที่ 1 - 10 ประชาชนได้รับการคัดกรองด้านสุขภาพกาย - ใจ เฝ้าระวังดูแลรักษา และติดตามเยี่ยมเยือนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  สนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง 75,000   อบต.   75,000   อบต. 75,000   อบต. จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม ประชาชน ได้รับการดูแลรักษาเฝ้าระวังดูแลรักษา และติดตามเยี่ยมเยือน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สำนักปลัด
                     
30 รณรงค์ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงเป็นพาหะ  หมูที่ 1- 10 เพื่อป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของโรคที่ยุงเป็นพาหะ  จำนวน 3 ครั้ง 75,000   อบต.   75,000   อบต. 75,000   อบต. จำนวนครั้งที่ดำเนินกิจกรรม บ้านเรือนปลอดลูกน้ำยุงลาย ลดการเกิดโรคที่ยุงเป็นพาหะได้ สำนักปลัด
                     
31 ก่อสร้างสวนหย่อม/สถานที่พักผ่อนของประชาชนในตำบล เพื่อให้ประชาชนมีสถานที่สำหรับพักผ่อน หย่อนใจ จำนวน 1 แห่ง บริเวณเขื่อนกันตลิ่งพัง หมู่ที่ 3, 10 500,000  อบต.       จำนวนสถานที่พักผ่อนที่ก่อสร้าง ประชาชนในตำบลมีสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ กองช่าง
                     
                   
                สุขภาพ  
                   
แผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ.2561-2565)
30 พฤศจิกายน 542

0


  

เอกสารแนบ