0
1. ด้านกายภาพ
1.1ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ประวัติความเป็นมา
สมัยก่อนชาวบ้านในหมู่บ้านต้องเดินทางโดยเรือ และจะมีท่าสำหรับจอดที่วัดท่าเรือจอดนี้มี
หินกรัง หรือหินเกาะเก่ามานานมาก มีศาลเจ้าที่ชาวบ้าน เรียกชื่อว่า "ศาลเจ้าหินกรัง" ตั้งอยู่เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวบ้าน และต่อมาชาวบ้านเลยเรียกชื่อ ตำบลนี้ว่า "ตำบลท่าหิน" หมายถึง ท่าเรือที่เป็นหิน
เส้นทางการดินทางสู่ตำบลท่าหิน โดยเส้นทางรถยนต์เริ่มต้นจากทางหลวง เอเชียหมายเลข 2 เข้าสู่ถนนหมายเลข 4003 สวี- บ่อคา ผ่านตำบลนาโพธิ์ ระยะทางประมาณ 12 กม.
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง
ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ ๙ ตำบลท่าหิน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โทรศัพท์ /โทรสาร ๐-๗๗๖๒-๑๒๑๙
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลท่าหิน มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 46.7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 29,187.5 ไร่
ซึ่งอยู่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสวี ประมาณ 10 กิโลเมตร มีอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลปากแพรก
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลด่านสวี และ อ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลนาโพธิ์
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลนาโพธิ์ และ ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลท่าหิน มีลักษณะพื้นที่ทางกายภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสลับภูเขา และมีพื้นที่ติดฝั่งทะเล ซึ่งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 8 มีลักษณะภูมิประเทศเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพประมง และสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีการคมนาคมที่ค่อนข้างสะดวก
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลท่าหิน มีสภาพดินฟ้าอากาศมีสามฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี ตำบลท่าหินมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เพราะอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทย
1.4 ลักษณะของดิน
กลุ่มชุดดินตามรายงานแผนที่ตามความเหมาะสมของดิน กับพืชเศรษฐกิจเบื้องต้น ซึ่งจัดทำโดยกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 โดยได้ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลแผนที่และจัดรวบรวมดินทั้งประเทศ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คือมี 62 กลุ่มชุดดิน ซึ่งจัดทำให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการพัฒนาและมาตรฐาน การบริหารและการจัดการทรัพยากรที่ดิน ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535 – พ.ศ.2539) ได้บอกว่า ตำบลท่าหิน ประกอบด้วยกลุ่มชุดดิน ดังนี้
- กลุ่มดินชุดที่ 5,6 ดินมีความเหมาะสมในการทำเกษตรกรรมปลูกข้าว
- กลุ่มดินชุดที่ 32B , 39 , 39B , 39C , 50B , 50B/43B , 50C ดินมีความเหมาะสมปลูกยางพาราและการปลูกมะพร้าว
- กลุ่มดินชุดที่ 32B , 50B , 50B/43B , 50C ดินมีความเหมาะสมปลูกกาแฟ
- กลุ่มดินชุดที่ 32B, 50B , 50B/43B ดินมีความเหมาะสมปลูกลองกอง,เงาะ,ทุเรียน มังคุด
- กลุ่มดินชุดที่ 32B , 39 , 39B , 39C , 50B , 50B/43B , 50C เหมาะสมปลูกปาล์ม น้ำมัน
ทรัพยากรดิน |
||
ท่าหิน: รวมพื้นที่ 34,832.64 ไร่ |
||
*ค่าตัวเลขได้มาจากการคำนวณด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
ที่มา : http://agri-map-online.moac.go.th
|
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำสายหลักไหลผ่าน ดังนี้
1. คลองสวี ต้นน้ำเกิดจากภูเขาในเขตตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง แล้วไหลไปทางเหนือจากนั้นวกไปทางตะวันออกเข้าเขตอำเภอสวี ผ่านเขตตำบลเขาทะลุ นาสัก ทุ่งระยะ สวี นาโพธิ์
ปากแพรก ท่าหิน แล้วไหลลงสู่ทะเล ในเขตตำบลด่านสวี อำเภอสวี
2. คลองสวีเฒ่า ต้นน้ำเกิดจากภูเขาในเขตตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี ไหลไปทางทิศตะวันออก ผ่านเขตตำบลนาโพธิ์ แล้ววกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเขตตำบลปากแพรก แล้วไหลลงสู่ทะเล ในเขตตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ตำบลท่าหิน มีพื้นที่ป่า จำแนกเป็น 2 ชนิด มีลักษณะของสภาพป่าที่แตกต่างกัน เป็นไม้ยืนต้น
ผลัดใบ และป่าชายเลน ป่าพรุ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลท่าหิน ได้มีการจัดตั้งให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 40 และมาตรา41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2539 แบ่งเป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านดอนตาเหลือง หมู่ที่ 2 บ้านหินสามก้อน หมู่ที่ 3 บ้านท่ากระดาน หมู่ที่ 4 บ้านคลองชุม หมู่ที่ 5 บ้านท่าหิน หมู่ที่ 6 บ้านห้วยปลิง หมู่ที่ 7 บ้านหนองปลา หมู่ที่ 8 บ้านหาดทรายรี
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) หน้า 4
หมู่ที่ 9 บ้านเขาเขียว หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งพุฒ
2.2 เขตการเลือกตั้ง
ตำบลท่าหิน มีเขตการเลือกตั้ง เป็น 10 เขต ได้แก่
เขตที่ 1 บ้านดอนตาเหลือง เขตที่ 2 บ้านหินสามก้อน เขตที่ 3 บ้านท่ากระดาน เขตที่ 4 บ้านคลองชุม เขตที่ 5 บ้านท่าหิน เขตที่ 6 บ้านห้วยปลิง เขตที่ 7 บ้านหนองปลา เขตที่ 8 บ้านหาดทรายรี เขตที่ 9 บ้านเขาเขียว เขตที่ 10 บ้านทุ่งพุฒ
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ตำบลท่าหิน มีประชากรทั้งสิ้น 4,700 คน เป็นชาย 2,320 คน เป็นหญิง 2,380 คน
จำนวน 1,869 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 2.51 คน/ตารางกิโลเมตร (ความหนาแน่นของประชากรอย่างหยาบ เท่ากับ จำนวนประชากรทั้งหมด หารด้วยพื้นที่ทั้งหมด (ตารางกิโลเมตร))
(ที่มา: ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง: ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2564)
ตารางแสดงข้อมูลประชากรตำบลท่าหิน
หมู่ที่ |
ชื่อบ้าน |
จำนวนประชากร |
จำนวนครัวเรือน |
ชื่อผู้นำ |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
1 |
บ้านดอนตาเหลือง |
171 |
170 |
341 |
129 |
นายอนันต์ หมอฝี |
2 |
บ้านหินสามก้อน |
350 |
349 |
699 |
273 |
นายโชคชัย ทองคำ |
3 |
บ้านท่ากระดาน |
118 |
122 |
240 |
92 |
นายณรงค์ ควรหาเวช |
4 |
บ้านคลองชุม |
244 |
213 |
457 |
184 |
นายอำนาจ สมประสงค์ |
5 |
บ้านท่าหิน |
112 |
102 |
214 |
105 |
นายเดชา ยังสุข |
6 |
บ้านห้วยปลิง |
173 |
167 |
340 |
153 |
นายอนันต์ ผุดไซตู |
7 |
บ้านหนองปลา |
257 |
270 |
527 |
214 |
นางวราศรี ถนอมใจ |
8 |
บ้านหาดทรายรี |
446 |
485 |
931 |
379 |
นายสุรินทร์ จันทร์น้อย |
9 |
บ้านเขาเขียว |
247 |
272 |
519 |
180 |
นายเอกสันต์ ภู่ขวัญเมือง |
10 |
บ้านทุ่งพุฒ |
183 |
228 |
411 |
160 |
นายสมชาย พรมชัย |
รวม |
2,301 |
2,378 |
4,679 |
1,869 |
|
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) หน้า 5
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร(ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2564)
ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงอายุ |
ชาย |
หญิง |
หมายเหตุ |
อายุต่ำกว่า 18 ปี |
480 |
461 |
จำนวนประชากรเยาวชน |
อายุ 18-60 ปี |
1,441 |
1,385 |
จำนวนประชากร |
อายุมากกว่า 61-100 ปี |
399 |
534 |
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ |
อายุมากกว่า 100 ปี |
- |
- |
|
รวม |
2,320 |
2,380 |
ทั้งสิ้น 4,700 คน |
จำนวนประชากรแยกตามเกณฑ์อายุ
ช่วงอายุ |
ชาย |
หญิง |
รวม |
เป็นบุคคลที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน |
21 |
23 |
44 |
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 15 ปี |
1,918 |
2,011 |
3,929 |
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 18 ปี |
1,841 |
1,936 |
3,777 |
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 20 ปี |
1,790 |
1,885 |
3,675 |
เป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนทหาร |
21 |
0 |
21 |
เป็นบุคคลที่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร |
31 |
0 |
31 |
๔.๑ การศึกษา ข้อมูลสถานศึกษาในตำบล
- โรงเรียนประถมศึกษา ๓ แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
๑. โรงเรียนวัดท่าหิน (ดรุณศึกษา) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕
๒. โรงเรียนบ้านหนองปลา ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
๓. โรงเรียนบ้านหาดทรายรี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ๑ แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าหิน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (กศน.ตำบล) ๑ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๑๐ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ - ๑๐
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อ |
ที่ตั้ง |
ผู้บริหาร |
เบอร์โทร |
1 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าหิน |
ม. 9 ต.ท่าหิน |
นางจันทรา สุดสวาสดิ์ |
098-6696189 |
|
|
|
|
|
โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง สังกัด สพฐ. ดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อ |
ที่ตั้ง |
ผู้บริหาร |
หมายเหตุ |
1 |
โรงเรียนวัดท่าหิน (ดรุณศึกษา) |
ม. 5 ต.ท่าหิน |
|
|
2 |
โรงเรียนบ้านหนองปลา |
ม. 7 ต.ท่าหิน |
|
|
3 |
โรงเรียนบ้านหาดทรายรี |
ม. 8 ต.ท่าหิน |
|
|
|
|
|
|
|
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) หน้า 6
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อ |
ที่ตั้ง |
ผู้บริหาร |
หมายเหตุ |
1 |
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน(กศน.ตำบล) |
ม.2 ต.ท่าหิน |
|
|
|
|
|
|
|
(๑) หน่วยงานด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙
- ศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน ๑๐ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ – ๑๐
- กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต. ๑ กองทุน
- ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ๑ ชมรม
๔.๓ อาชญากรรม
– ป้อมตำรวจประจำตำบล ๑ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙
- มีศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙
- มีการจัดฝึกอบรมสมาชิก อปพร. จำนวน ๒ รุ่น จำนวนสมาชิก อปพร.
- ชมรม อปพร.อบต.ท่าหิน ๑ ชมรม
- ศูนย์ยุติธรรมชุมชน ๑ ศูนย์
4.4 ยาเสพติด ปัญหาด้านยาเสพติดของตำบลท่าหิน พบว่ามีผู้ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นก็ถือว่าน้อย ส่วนใหญ่จะพบในฐานะผู้เสพ แต่ยังไม่พบผู้ค้า ในพื้นที่
๔.5 การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
(๒) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(๓) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
และมีการรวมตัวก่อตั้งและดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ของประชาชนตำบล เช่น
- ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ๑ ศูนย์
- กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่าหิน ๑ กองทุน
- ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าหิน ๑ ชมรม
๕. ระบบบริการพื้นฐาน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้
๕.๑ เส้นทางคมนาคมภายในตำบล
- คมนาคมทางบก โดยมีถนนทั้งหมดในตำบลรวม 73 สาย
– ถนนลาดยาง ๒ สาย
- ถนน คสล. ๑๒ สาย
- ถนน คสล./ลูกรัง ๒๗ สาย
- ถนนลูกรัง ๓๒ สาย
แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70) หน้า 7
๕.๒ การไฟฟ้า
การขยายเขตบริการไฟฟ้า ปัจจุบันครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้คิดเป็นร้อยละ ๙๙ และมีไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ (รวมทั้ง 2 ระบบ) จำนวน 158 จุด ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
๕.๓ การประปา
- มีระบบประปาตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
- มีระบบประปาหมู่บ้าน ซึ่งบริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน
จำนวน 12 แห่ง
- ครัวเรือนมีน้ำประปาสำหรับใช้ในการอุปโภค คลอบคลุมทุกหมู่บ้าน
๕.๔ โทรศัพท์
- เสารับสัญญาณโทรศัพท์ของเอกชน ๕ แห่ง
๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ในพื้นที่ตำบลท่าหิน ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์ตั้งอยู่
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
|
ประชากรในตำบลท่าหินส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม,พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด พื้นที่เพาะปลูกพืชตำบลท่าหินจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรทั้งหมด 1,002 ครัวเรือน
ที่มา : ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรปี 2563 : สืบค้นเมื่อ 13 ก.พ.2564